Page 384 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 384
I44
การศึกษาการใช้ปฏิบัติการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวชกรรม (Telemedicine)
ในการชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเปรียบเทียบกับการรักษาแบบปกติ
( Using Telemedicine compared with Face to Face visit for management of CKD
care in CKD clinic : A Prospective Randomized Clinical Trial)
แพทย์หญิงณิชาภัทร อภิบาลคุรุกิจ
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ เขตสุขภาพที่ 13
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรคไตเรื้อรัง เป็นปัญหาทางด้านสุขภาพระดับโลกที่พบมากขึ้น เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วย
โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน หรือจากการใช้ยาสมุนไพร ซึ่งโรคไตเรื้อรังนั้นส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของ
ภาวะทุพพลภาพ และอัตราการเสียชีวิต จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เพื่อ
ป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตเรื้อรังอย่างเหมาะสม และเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อมจนถึงระยะไต
วายระยะสุดท้าย ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีการใช้ปฏิบัติการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวชกรรม
(Telemedicine) เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์อย่างสะดวกและรวดเร็ว
โดยแพทย์สามารถให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และรักษา การใช้ปฏิบัติการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวชกรรม
สามารถลดการมาโรงพยาบาลของผู้ป่วย ลดความแออัดหน้าห้องตรวจ อีกทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
และประหยัดเวลาในการรอคอย จะทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างเนื่อง ได้นำการใช้ปฏิบัติ
การแพทย์ทางไกลหรือโทรเวชกรรม มาใช้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังหลายโรค ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการศึกษาการใช้
ปฏิบัติการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวชกรรมในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเปรียบเทียบกับการรักษาแบบปกติ
(Face to face) เพื่อเป็นแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในคลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลภูมิพล
อดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ และโรงพยาบาลอื่น ๆ ได้ในอนาคต
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. วัตถุประสงค์หลัก : อัตราการนอนโรงพยาบาล มีภาวะไตวายมากขึ้นจนต้องได้รับการรักษา
ด้วยการบำบัดทนแทนไต และอัตราการตายจากทุกสาเหตุ ในการรักษาโดยใช้ปฏิบัติการแพทย์ทางไกล
หรือโทรเวชกรรม (Telemedicine) ในคลินิกโรคไตเรื้อรังเปรียบเทียบกับการรักษาแบบปกต
2. วัตถุประสงค์รอง : ความเปลี่ยนแปลงของค่าโปรตีนไข่ขาวในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูง
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตเรื้อรัง เพื่อดูประสิทธิภาพในการชะลอความเสื่อมของไต นอกจากนั้นศึกษาอัตรา
การขาดนัด และความพึงพอใจของการเข้ารับบริการ
วิธีการศึกษา
การทดลองนี้เป็นการทดลองแบบไม่สุ่มชนิดเปิดที่มีกลุ่มควบคุม (non–randomized open label
controlled trial) คัดเลือกผู้ป่วยที่มีค่าการอัตราการกรองของไต (CKD-EPI) < 60 มล./นาที/1.73 ตร.ม
2
ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี สามารถสื่อสารโดยใช้โปรแกรม Zoom video ได้และได้รับการรักษาในคลินิกโรคไต
เรื้อรังมาเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี ทำการแบ่งผู้ป่วย กลุ่มทดลองเป็นการใช้ปฏิบัติการแพทย์ทางไกล
หรือโทรเวชกรรมด้วยโปรแกรม Zoom video กลุ่มควบคุมให้การรักษาแบบรักษาแบบปกติ (Face to Face
visit) ทั้ง 2 กลุ่มแบ่งโดยความสมัครใจของผู้เข้าร่วมศึกษา โดยให้การดูแลด้วยทีมสหสาขา ในคลินิกโรคไต
เรื้อรัง เก็บข้อมูลของผู้เข้าร่วมการศึกษาวิจัยระหว่างเดือน มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือน มกราคม พ.ศ. 2565