Page 380 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 380
I40
ผลของโปรแกรมการจัดการผู้ป่วยไตรายใหม่ตามบริบทพื้นที่วิถีมุสลิมต่อพฤติกรรม
การบริโภคอาหารด้วยความร่วมมือของผู้ดูแลร่วมกันและการสื่อสารความเข้าใจง่าย
อย่างเท่าเทียมในคลินิกไต โรงพยาบาลรามัน
นางยามีล๊ะ สะแลแม
โรงพยาบาลรามัน จังหวัดยะลา เขตสุขภาพที่ 12
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรคไตเรื้อรังเป็นภาวะที่มีความเสื่อมของไตต่อเนื่องนานกว่า 3 เดือน ซึ่งข้อมูลทั่วโลกพบว่าสาเหตุ
หลักของโรคไตเรื้อรัง เกิดขึ้นจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs จากเบาหวานและความดันโลหิตสูง เช่นเดียวกับ
ข้อมูล จากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2557 พบว่าสาเหตุหลัก ของผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่เข้ารับ
การบำบัดทดแทนไตเกิด จากเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 38.47 และ ร้อยละ 30
ของผู้ที่เข้ารับการบำบัดทดแทนไตทั้งหมด ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง เช่น นิ่วทางเดินปัสสาวะ
โรคกรวยไตอักเสบ (glomerulonephritis) โรคเก๊าท์ โรคถุงน้ำในไต เป็นต้น(Journal of the Nephrology
Society ;TH) จากอุบัติการณ์ของโรคไตเรื้อรัง และโรคไตวายระยะสุดท้ายที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากทำให้โรคไต
เรื้อรังมีแนวโน้มเป็นปัญหาที่มีความรุนแรง เพิ่มขึ้นในอนาคตอย่างมาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้การดูแล
รักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพื่อป้องกันหรือ ชะลอไม่ให้เกิดโรคไตวายระยะสุดท้าย โดยควรให้การดูแลรักษา
ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเพื่อชะลอการเสื่อมของไต ให้ได้ผลดี(Clinical Practice Recommendation for the
Evaluation and Management of Chronic Kidney Disease in Adults ,2022)
ทีมคลินิกรักษ์ไตโรงพยาบาลรามัน ได้รวบรวมปัญหาจากผู้ป่วยและผู้ดูแลร่วมกันในครอบครัวหลาย
ปัจจัยโดยวิเคราะห์ปัญหา พบว่า ร้อยละ 10 ของผู้ป่วยรายใหม่ที่ไม่ได้รับการสื่อสารจาก Case Manager
ระยะการชะลอไตแย่ลง ส่งผลให้ผู้ป่วยรายใหม่กลุ่มนี้มีภาวะแทรกซ้อนจากผลเลือดดังกล่าว เช่น ผลของ
ค่า Potassium,Phosphorus สูงขึ้นเป็นต้น อีกทั้งไม่ได้รับการสื่อสารอย่างเข้าใจง่าย ซึ่งเชื่อมโยง
ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมขาดความรู้ความเข้าใจในเชิงลึกจาก Case Manager ที่ต้อง
ดำเนินการวางแผนให้ผู้ป่วยตามโปรแกรมในคลินิกรักษ์ไตเพื่อส่งต่อไปยังทีมสหวิชาชีพ จึงพัฒนาโปรแกรม
การจัดการผู้ป่วยรายใหม่ตามบริบทพื้นที่วิถีมุสลิมต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารด้วยความร่วมมือของ
ผู้ดูแลร่วมกันและการสื่อสารความเข้าใจง่ายอย่างเท่าเทียมขึ้นรายกรณีที่มีอยู่ นำหลักการปฏิบัติของผู้ป่วย
ต้นแบบที่สามารถชะลอไตได้ร่วมวางแผนการดูแลกับทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง เช่น นักโภชนาการ และประเมินผล
ของการใช้โปรแกรมดังกล่าว
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อพัฒนาโปรแกรมการจัดการผู้ป่วยไตรายใหม่ตามบริบทพื้นที่วิถีมุสลิมต่อพฤติกรรมการบริโภค
อาหารด้วยความร่วมมือของผู้ดูแลร่วมกันและการสื่อสารความเข้าใจง่ายอย่างเท่าเทียมในคลินิกไต
วิธีการศึกษา
การวิจัยเชิงพัฒนา(Developmental Research)เพื่อพัฒนาโปรแกรมและปรับกิจกรรมในคลินิกรักษ์
ไตจากการวิเคราะห์ปัญหาด้วย Root Cause analysis มีวิธีการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. ศึกษาปัญหาจากปัจจัยของผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเพื่อกำหนดวิธีการปรับกิจกรรม
เช่น การสื่อสารด้วยความเข้าใจอย่างง่ายใช้ภาษามาลายูสื่อถึงปัญหาและผลกระทบในระยะยาวแก่ผู้ป่วย
2. สรุปปัญหาเพื่อปรับใช้ในโปรแกรมการจัดการผู้ป่วยไตรายใหม่ฯ แต่ละรายตามบริบทวิถีมุสลิม
และผลlabที่มีภาวะแทรกซ้อน