Page 381 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 381
I41
3. .ติดตามระยะของstageที่เป็นเป้าหมายสำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยมีแรงผลักดันด้วยการเชิญชวน
โดยบุคคลต้นแบบชะลอไต
4. ประเมินผลการพัฒนาโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ป่วยไตรายใหม่
ที่ได้รับการวินิจฉัยเข้าคลินิกรักษ์ไตด้วยสมัครใจ ช่วงไตรมาสที่1 และไตรมาสที่2 ปีงบประมาณ2566 จำนวน
110 คน ร้อยละ 45 จากผู้ป่วยรายใหม่ทั้งหมด 245 คน ด้วยเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1
เครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรอง ส่วนที่ 2 เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย และส่วนที่3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ
ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและมัธยฐาน
ผลการศึกษา
จากการเก็บข้อมูลผู้ป่วยรายใหม่ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมโดยใช้ google studio เชื่อมโยงโดยใช้ข้อมูล
จาก google form ด้วยเครื่องมือที่ใช้ ร้อยละ 60.01ของผู้ป่วยที่มีค่า eGFR ดีขึ้น ร้อยละ 28.18ของผู้ป่วย
ที่มีค่า eGFR คงที่ และ ร้อยละ 11.81 ของผู้ป่วยที่มีค่า eGFR แย่ลง โดยพบว่าผู้ป่วยรายใหม่ที่มีค่า eGFR
แย่ลงนั้น ไม่ได้เข้าโปรแกรมเนื่องจากเหตุสุดวิสัย และขาดนัด ซึ่งผลจากการประเมินพฤติกรรมได้เชื่อมโยง
เนื่องจากยังขาดความรู้และการสื่อสารด้วยความเข้าใจ
อภิปรายผล
การพัฒนาโปรแกรมการจัดการผู้ป่วยไตรายใหม่ตามบริบทพื้นที่วิถีมุสลิมต่อพฤติกรรมการบริโภค
อาหารด้วยความร่วมมือของผู้ดูแลร่วมกันและการสื่อสารความเข้าใจง่ายอย่างเท่าเทียมในคลินิกไต
โรงพยาบาลรามันส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถเข้าใจและปรับพฤติกรรมรอบรู้ในการดูแลตนเองเพื่อชะลอไตให้คงอยู่
อย่างยาวนานส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นบุคคลรอบรู้ที่จะส่งต่อให้ผู้ป่วยที่เสี่ยงและมีภาวะแทรกซ้อนได้
ตระหนักเชิญชวนให้ดูแลสุขภาพไตให้คงอยู่ต้อไปอย่างยาวนาน
สรุปและข้อเสนอแนะ
โปรแกรมการจัดการผู้ป่วยไตรายใหม่ส่งผลให้การทำงานในคลินิกรักษ์ไตมีทิศทางในการดำเนินงาน
ตรงตามเป้าหมาย ผู้ป่วยและผู้ดูแลที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมดังกล่าวมีความหวังและแรงบันดาลใจชะลอไต
ตามบริบทพื้นที่ ข้อจำกัดของโปรแกรมเนื่องจากปี 2566 ผู้ป่วยรายใหม่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ทีมคลินิกรักษ์ไต
ต้องบริหารจัดการวางแผนทำกลุ่ม(Focus Group)เพื่อรองรับผู้ป่วยรายใหม่ทุกราย จากข้อมูล HDCปี 2567
ณ ปัจจุบัน ไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ลดลงเหลือ 15 ราย