Page 389 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 389

J2


                  ในการศึกษานวัตกรรมเชิงกระบวนการนี้ ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงมิถุนายน 2564 และได้นำ
                  นวัตกรรมมาใช้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
                         เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย R2R และการเก็บรวบรวมข้อมูล

                         นำแบบสัมภาษณ์จากงานวิจัย เรื่องปัญหาและพฤติกรรมการใช้ยาในผู้ป่วยโรคต้อหินโรงพยาบาล
                  เจ้าพระยายมราช (วันทนา ลีพิทักษ์วัฒนา, 2557) มาประยุกต์ใช้ร่วมกับนวัตกรรมสมุดการบ้านต้อหิน
                         กระบวนการดูแลผู้ป่วยในกิจกรรมกลุ่ม ร่วมกับนวัตกรรมสมุดการบ้านต้อหิน
                         1. เมื่อได้ข้อสรุปแนวทางการดำเนินงาน และการจัดกิจกรรมกลุ่มในการดูแลผู้ป่วยต้อหินจากทีม PCT
                  จักษุ จึงเริ่มเก็บข้อมูล โดยให้ผู้ป่วยตอบแบบสัมภาษณ์ในวันที่มารับการรักษาตามนัดทุกราย ตามรายชื่อที่ได้จาก

                  ศูนย์คอมพิวเตอร์ จำนวน 160 คน
                         2. จัดทำสมุดประจำตัวผู้ป่วย โดยมีแบบทวนยาติดไว้ที่ปกสมุดด้านใน รายละเอียดประกอบด้วย
                  ระยะเวลาเริ่มป่วย ตาข้างที่เป็นต้อหิน การตรวจประเมินค่าสายตา ความดันตา การตรวจขนาดขั้วประสาทตา

                  โดยแพทย์ ชื่อยาและวิธีการใช้ยา รายละเอียดการใช้ยาผิดพลาด และรายการวันนัดครั้งต่อไป
                         3. จัดกิจกรรมกลุ่ม ได้แก่ การให้ความรู้โรคต้อหิน การสอนสาธิตฝึกหยอดยาด้วยตัวเอง พร้อมมอบ
                  สมุดประจำตัวต้อหิน และแผ่นพับความรู้โรคต้อหินกับผู้ป่วยทุกราย พร้อมแนะนำการใช้สมุด รวมทั้งแบบทวน
                  ยาต้อหินรายบุคคล โดยให้นำสมุดใช้แทนบัตรนัด มาทุกครั้งที่มีการนัด

                         4. การนัดตรวจติดตามผู้ป่วยต้อหินทุก 3 เดือน เพื่อติดตามการรักษา ทบทวนการดูแลตนเอง ความผิดพลาด
                  การใช้ยา และการหยอดยาอย่างถูกวิธี จะติดสติ๊กเกอร์หน้าสมุดว่า “ทบทวนยาแล้ว”
                         5. ในการนัดครั้งต่อไป ในรายที่มีสติ๊กเกอร์หน้าสมุดว่า “ทบทวนยาแล้ว” ให้ทำแบบสัมภาษณ์
                  ประเมินความพึงพอใจ ในกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยที่ผ่านมา แล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ต่อไป

                  ผลการศึกษา

                  ผลลัพธ์เปรียบเทียบ ความผิดพลาดการหยอดยาต้อหินก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม
                                                                ก่อนใช้นวัตกรรม          หลังใช้นวัตกรรม
                        ความผิดพลาดการหยอดยาต้อหิน
                                                             จำนวน (คน)  ร้อยละ      จำนวน (คน)    ร้อยละ

                  1. หยอดยาผิดข้าง                               11         6.9          1           0.6
                  2. หยอดยาผิดเวลา                               54         33.8         10          6.3
                  3. ลืมหยอดยา                                   29         18.1         3           1.9

                  4. ยาหมดก่อนนัด                                23         14.4         3           1.9
                  5. ใช้ยาเกิน 1 เดือน                           19         11.9         1           0.6
                  6. มีอาการไม่พึงประสงค์หลังหยอดยา              29         18.1         11          6.9


                  ผลลัพธ์เปรียบเทียบ การปฏิบัติตามขั้นตอนการหยอดยา
                                                                        ก่อนใช้นวัตกรรม      หลังใช้นวัตกรรม
                            การปฏิบัติตามขั้นตอนการหยอดยา
                                                                       จำนวน      ร้อยละ    จำนวน     ร้อยละ

                  1. ไม่อ่านฉลากยา                                       9         5.6        6        3.8
                  2. ไม่ล้างมือ                                          24        15         9        5.6

                  3. ไม่เขย่าขวดยา                                       44        27.5       5        3.1
                  4. ไม่ได้แหงนหน้าดึงหนังตาล่างลงให้เป็นกระพุ้ง         12        7.5        8        5.0
                  5. ปลายหลอดสัมผัสเปลือกตา                              15        9.4        4        2.5
   384   385   386   387   388   389   390   391   392   393   394