Page 390 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 390
J3
ก่อนใช้นวัตกรรม หลังใช้นวัตกรรม
การปฏิบัติตามขั้นตอนการหยอดยา
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
6. ไม่กดหัวตา 1-2 นาที 80 50 16 10.0
7. หยอดยาแต่ละชนิดไม่เว้นระยะห่างอย่างน้อย 5 นาที 19 11.9 2 1.25
อภิปรายผล
ผู้ป่วยต้อหินโรงพยาบาลสามพราน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีการศึกษาระดับประถม ผู้ป่วยร้อยละ 91.2
ต้องหยอดยาให้ตัวเอง พบข้อมูลความผิดพลาดการหยอดยา ได้แก่ หยอดยาผิดข้าง ผิดเวลา ลืมหยอดยา
ยาหมดก่อนนัด และใช้ยาเกิน 1 เดือน แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 78.1) เป็นต้อหินในช่วงระยะเวลา 1- 5 ปี
ซึ่งยังมีความใส่ใจการดูแลตนเอง และให้ร่วมมือการหยอดยาอย่างถูกวิธี ส่งผลให้ความดันตาอยู่ในเกณฑ์ปกติ
(< 20 mmHg) คิดเป็นร้อยละ 86.9 ส่วนผู้ป่วยที่มีความดันตาผิดปกติพบร้อยละ 11.3 และผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับ
การปรับแผนการรักษาร้อยละ 1.9 ผู้ป่วยต้อหินทั้งหมดได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มการให้ความรู้โรค การดูแล
ตนเอง การฝึกหยอดยาด้วยตัวเอง ควบคู่กับสมุดการบ้านต้อหิน มีผลให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจโรคต้อหิน
เข้าใจการใช้ยา การดูแลตนเอง ทำให้อุบัติการณ์การใช้ยาผิดพลาดลดลง มีอัตราความพึงพอใจระดับมากที่สุด
ในกิจกรรมบริการร้อยละ 88.37 ผู้ป่วยที่คุมความดันตาด้วยยาไม่ได้ ได้รับการส่งต่อไปโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์
เฉลี่ย 2 คน/ปี ยังไม่พบผู้ป่วยต้อหินมีภาวะตาบอด
สรุปและข้อเสนอแนะ
นวัตกรรมสมุดการบ้านต้อหิน ช่วยลดภาระงานของแพทย์ในการให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้ป่วย ช่วยสร้าง
สัมพันธภาพที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ป่วย ผู้ป่วยมีความพึงพอใจบริการ ลดการส่งต่อผู้ป่วย
ข้อเสนอแนะ
1. เน้นผู้ป่วยให้เห็นความสำคัญนำสมุดต้อหินมาโรงพยาบาลทุกครั้ง
2. ทบทวนยาทุกครั้งที่ผู้ป่วยมาตามนัดเพื่อกระตุ้น และเสริมพลังการดูแลตนเองตลอดไป
3. คัดแยกผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มเพื่อง่ายในการทบทวนยา กรณีที่ผู้ให้บริการมีจำกัด
3.1 ผู้ป่วยต้อหินไม่เกิน 5 ปี
3.1.1 ดูแลตัวเองดีใช้ยาถูกต้องสม่ำเสมอ ทบทวนยา ทุก 6 เดือน
3.1.2 มีความผิดพลาดการใช้ยา ทบทวนยา ทุกครั้งที่พบอุบัติการณ์
3.2 ผู้ป่วยต้อหินมากกว่า 5 ปี ทบทวนยา ทุกครั้งที่นัด