Page 392 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 392
J5
1.1) ประสานงานกับผู้บริหารในพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมในดำเนินงาน เช่น ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ
เช่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ
1.2) ประสานงานกับผู้รับผิดชอบเพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะการตรวจคัดกรองสายตาด้วย
เครื่องตรวจคัดกรองให้กับบุคลากรด้านสาธารณสุขโดยทำทีละโรงพยาบาล
1.3) ให้พื้นที่ประสานงานกับทางโรงเรียนเพื่อเตรียมลงคัดกรองนักเรียน
2) การดำเนินงานพัฒนาระบบบริการ (Do) รูปแบบการทำงานแบบเชิงรุกของโครงการเด็กไทย
สายตาดีจังหวัดอุดรธานี
2.1) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสอนภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติพร้อมสอนเทคนิคคัดกรองด้วยเครื่อง
Vision screener ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานคัดกรองในแต่ละแห่งเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความมั่นใจและ
เห็นประโยชน์ในการดำเนินงาน การคัดกรองสายตาเด็กอย่างมีคุณภาพและเกิดความครอบคลุม
2.2) เปลี่ยนรูปแบบการคัดกรองจากการคัดกรองด้วย Snellen chart เป็นการใช้ Vision screener
ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานแบบใหม่ในโรงเรียนแต่ละพื้นที่
2.3) หลังจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสายตาในโรงเรียนนำเด็กที่มีปัญหาทางด้านสายตาพบจักษุแพทย์
เพื่อแก้ไขและดำเนินการตัดแว่น ในโรงพยาบาลชุมชนที่ดำเนินการ
3) การตรวจสอบ (Check) มีขั้นตอนการวางแผน การดำเนินงาน การติดตาม ตรวจสอบและ
ประเมินผลการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ในทุกขั้นตอนของการทำงานอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย
การประเมินผลจากการสะท้อนความคิดของผู้ปฏิบัติงาน สอบถามความพึงพอใจกับผู้ปกครองที่มาพร้อมกับ
นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม
4) การปรับปรุงหรือวิธีปฏิบัติจากผลการประเมินนำไปสู่มาตรฐานของวิธีปฏิบัติ (Act)
4.1) จากการติดตามประเมินผลโครงการในระหว่างการดำเนินการ ทำให้ผู้รับผิดชอบโครงการ
สามารถปรับการทำงานให้สอดคล้อง เหมาะสม ตามความจำเป็น และเหมาะสมกับสภาพปัญหา
4.2) มีการจัดตั้งกลุ่มไลน์เพื่อติดตามงานในพื้นที่ และใช้สำหรับการสื่อสารเมื่อเกิดปัญหา เช่น
เมื่อได้แว่นแล้วเด็กมีอาการปวดศีรษะ สามารถสื่อสารกับจักษุแพทย์ได้
4.3) มีการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในระหว่างการดำเนินงานเพื่อสร้างความมั่นใจให้เจ้าหน้าที่
ผลการศึกษา
จากการดำเนินงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีร่วมกับนายแพทย์พิชชา พนาวัฒนวงศ์
จักษุแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี ลงพื้นที่จัดบริการคัดกรองเชิงรุกของจังหวัดอุดรธานี จำนวนทั้งสิ้น 11 แห่ง
มีจำนวนนักเรียนที่ได้รับการคัดกรองทั้งสิ้น 50,952 คน พบนักเรียนที่มีความผิดปกติจำนวน 3,257 คน
นักเรียนที่ได้รับการตรวจโดยจักษุแพทย์ 2,704 คน และจำนวนนักเรียนที่ได้รับแว่นตา จำนวน 2,009 คน
อภิปรายผล
ผลการดำเนินงานโครงการเด็กไทยสายตาดีเป็นโครงการที่ดี แต่ต้องมีการปรับรูปแบบการทำงาน
ให้เข้าถึงกลุ่มโดยต้องลงในพื้นที่แบบเชิงรุก บทบาทที่สำคัญที่จะต้องมีและขาดไม่ได้คือจักษุแพทย์เพราะ
ปัจจุบันภาระงานที่มีก็หนักมาก ดังนั้นการสร้างบุคลากร เช่น พยาบาลเวชปฏิบัติทางตาก็จะเป็นการเพิ่ม
บุคลากรอีกทางหนึ่ง จากการถอดบทเรียน พบว่า ประเด็นการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการตรวจคัดกรอง
สายตาเด็ก โดยการใช้เครื่องมาคัดกรองแทนครูและบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญซึ่งจะทำ
ให้ง่ายและสะดวกมากขึ้น