Page 394 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 394
J7
การพัฒนาระบบเข้าถึงบริการแว่นตาเด็ก ในโครงการเด็กไทยสายตาดี
จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2566
นางดารุณี นะรารัมย์ และนายกฤษณัฐิ์ สีลาวงศ์
โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เขตสุขภาพที่ 9
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบันเด็กนักเรียนในวัยประถมศึกษา จะพบปัญหาทางสายตาเป็นจำนวนมาก เช่น สายตาสั้น
ยาว เอียง ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่เด็กจะส่งผลเสียหลาย ๆ ด้าน เช่น พัฒนาการช้า ขาดความมั่นใจ อาจเกิด
อุบัติเหตุง่าย และในการดูแลเบื้องต้นจะมีคุณครูอนามัยโรงเรียน และแผนกเวชปฏิบัติในโรงพยาบาลชุมชน
คัดกรองสายตาเด็กนักเรียนทุกปี เมื่อพบเด็กที่มีปัญหาทางสายตาแล้วไม่สามารถนำพาเด็กมาพบจักษุแพทย์
และนักทัศนมาตรได้ครอบคลุม ด้วยปัญหาในการเข้าถึงบริการ โดยเฉพาะการเดินทางและผู้นำส่ง โรงพยาบาล
บุรีรัมย์ให้บริการตัดแว่นแก่เด็กที่มีปัญหาทางสายตาตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมาในโครงการเด็กไทยสายตาดี
ยอดการตัดแว่นเพื่อแก้ปัญหาทางสายตามีเพียงปีละ 20 - 30 ราย ซึ่งต่ำกว่าความเป็นจริงค่อนข้างมาก แผนกจักษุ
โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้ทำการพัฒนาระบบบริการเพิ่มการเข้าถึงบริการ
แว่นตาเด็กขึ้น โดยให้บริการตรวจคัดกรองและวัดแว่นแบบเชิงรุกในโรงเรียน
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนากระบวนการเข้าถึงแว่นตาเด็ก และแก้ไขปัญหาเด็กที่มีอาการผิดปกติด้านสายตา ตั้งแต่
ชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมปีที่ 6 จ.บุรีรัมย์ ให้ได้ภายใน 30 กันยายน 2566 โดยใช้หลักการเชิงรุกเข้าไปคัดกรอง
เด็กในโรงเรียนแทนการให้เด็กมาที่โรงพยาบาล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
เพิ่มจำนวนเด็กนักเรียนในการเข้าถึงการแก้ปัญหาสายตาผิดปกติ ระดับชั้นอนุบาลถึงประถมปีที่ 6
จ.บุรีรัมย์
วิธีการดำเนินงาน
ในปี 2566 ทางโรงพยาบาลบุรีรัมย์โดยแผนกจักษุ ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงาน
สาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ โดยการสนับสนุนค่าแว่นตาเด็กจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้บูรณาการ
ในการออกคัดกรอง วัดแว่นเชิงรุก โดยนำเครื่องมือ ประกอบด้วย อุปกรณ์วัดสายตา และเครื่องวัดแว่นตา
ลงพื้นที่ตามนัดหมาย ทีมงานออกคัดกรองและวัดแว่นตา ประกอบด้วย พยาบาลเวชปฏิบัติทางตา นักทัศนมาตร
พยาบาลวิชาชีพ ออกคัดกรองตามโรงเรียนประถมทุกแห่งในจังหวัดบุรีรัมย์ และตัดแว่นให้เด็กนักเรียน
พร้อมนำส่ง โดยเด็กไม่ต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาล โดยจัดทำตารางการออกคัดกรอง ตั้งศูนย์รวบรวมเด็ก
ที่ได้รับการคัดกรองเบื้องต้นจากคุณครูอนามัยโรงเรียน และแผนกเวชปฏิบัติในโรงพยาบาลชุมชนอำเภอละ 1 แห่ง
จำนวน 23 อำเภอ โดยเริ่มดำเนินการลงพื้นที่ตั้งแต่ 8 สิงหาคม 2566 ถึง 6 กันยายน 2566 เมื่อได้จำนวน
เด็กที่ผิดปกติทางสายตาจะนำค่าสายตามาตัดแว่นและนำส่งแว่นให้ตามโรงเรียนต่าง ๆ ทั้งจังหวัดบุรีรัมย์