Page 391 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 391
J4
เปิดโลกทัศน์ใบใหม่ของเด็กไทยสายตาดีด้วยเชิงรุก จังหวัดอุดรธานี
นางดวงพร ถิ่นถา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
และนายแพทย์พิชชา พนาวัฒนวงศ์ โรงพยาบาลอุดรธานี
จังหวัดอุดรธานี เขตสุขภาพที่ 8
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
ปัญหาทางตาในเด็กที่มักพบมาก คือ ปัญหาสายตาผิดปกติ ปัญหาตาเข ตาเหล่ และปัญหาตาขี้เกียจ
ซึ่งหากตรวจพบและรักษาทันทีจะช่วยได้หากมารักษาตอนอายุหลังสิบปีไปแล้ว การกลับมาของการมองเห็น
อาจไม่สามารถกลับมาได้อย่างเดิม จากข้อมูลผลการดำเนินงานของประเทศ 3 ปีที่ผ่านมา ปี 2563 - 2565
พบว่า นักเรียนชั้น ป.1 ได้รับการคัดกรองสายตา คิดเป็นร้อยละ 5.7, 31.7 และ 16.3 ตามลำดับ ตรวจพบ
สายตาผิดปกติ คิดเป็นร้อยละ 6.5, 2.44 และ 4.6 ตามลำดับ ได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยจักษุแพทย์ คิดเป็น
ร้อยละ 48.3, 32.8, 39.09 ตามลำดับ ได้รับแว่นตา 135, 1,805, 2,495 คน และในปี 2566 มีเฉพาะเขต 13
กรุงเทพมหานคร ที่ทำเกินเป้า นักเรียนได้รับแว่นตา จำนวน 36,311 คน จากที่กำหนด 10,140 คน ซึ่งดำเนินการ
เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่ในเขตอื่น ๆ มีแนวโน้มการคัดกรองสายตานักเรียน ป.1 ความครอบคลุม
ลดลง ตรวจพบสายตาผิดปกติลดลง การตรวจวินิจฉัยลดลง และได้รับแว่นลดลงตามลำดับ (vision 2020) ในปี 2565
จังหวัดอุดรธานีได้จัดทำโครงการเด็กไทยสายตาดี มีระบบบริการเดิมคือให้โรงพยาบาลแต่ละแห่งได้ส่งข้อมูล
การคัดกรองสายตาที่ผิดปกติมาที่โรงพยาบาลอุดรธานีเพื่อพบจักษุแพทย์ 28 ราย คิดเป็น ร้อยละ 82.35 และ
ได้รับแว่นตาจำนวน 19 ราย คิดเป็นร้อยละ 67.85 ในปี 2566 มีการพัฒนาระบบการทำงานแบบเชิงรุกโดยทำ
นำร่องที่โรงพยาบาลนายูง และขยายการบริการเพิ่มเป็น 6 โรงพยาบาล และในปี 2567 แต่ละพื้นที่ให้การตอบรับ
มากขึ้น จึงทำให้ขยายบริการเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อพัฒนารูปแบบการทำงานแบบเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง จังหวัด
อุดรธานี จึงพัฒนาระบบบริการเพื่อให้เด็กที่มีสายตาผิดปกติ ได้รับการดูแลช่วยเหลือแก้ไขปัญหา ทำให้
นักเรียนมีการมองเห็นที่ดีและเรียนหนังสือได้อย่างมีความสุขและเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าต่อไป
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการทำงานแบบเชิงรุกของโครงการเด็กไทยสายตาดี จังหวัดอุดรธานี
2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการตรวจคัดกรองสายตาให้กับบุคลากรสาธารณสุข
3. เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการตรวจคัดกรองสายตาและการรับแว่นตา
วิธีการศึกษา
ระเบียบวิจัย เป็นวิจัยแบบปฏิบัติการ (Action Research) ใช้กระบวนการ PDCA ในการดำเนินการ
กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ป.6 ของจังหวัดอุดรธานี จำนวน 50,952 คน ซึ่งดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2567 โรงพยาบาลที่เข้าร่วมในปี 2566 จำนวน 6 แห่ง
และในปี 2567 ดำเนินการ 5 แห่ง ซึ่งผู้เข้าร่วมดำเนินการ ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียนแต่ละแห่ง
จำนวน 22 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ร่วมกับการสังเคราะห์ และ
ถอดบทเรียน ในระหว่างการดำเนินงานและเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำผลที่ได้
กลับไปประยุกต์ใช้และพัฒนาต่อยอดงานได้ โดยมีขั้นตอนดำเนินการตามกระบวนการ PDCA ดังนี้
1) การวางแผน (PLAN)