Page 410 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 410

K5


                               การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร

                                                                                          นางสาวบังอร ชูชะเอม

                                                                โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม เขตสุขภาพที่ 5
                                                                  ประเภท ผลงานทางวิชาการ Poster Presentation


                  ความสำคัญของปัญหา
                         ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองถือเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขเนื่องจากเป็นสาเหตุการตาย
                  อันดับ 2 และความพิการอันดับ 3 ของโลก จากรายงานสถิติกระทรวงสาธารณสุขในปี 2566 พบผู้ป่วยโรค
                  หลอดเลือดสมองมากถึง 349, 126 ราย และเสียชีวิตถึง 36,214 ราย คิดเป็นอัตราตายร้อยละ 10.37

                  ซึ่งสถานการณ์ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขต 5 ปี 2565 จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 12,138
                  ราย มีอัตราตายร้อยละ 10.39 และจากสถิติโรงพยาบาลนครปฐมพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับ
                  สถานการณ์ของเขตและประเทศ คือปี พ.ศ. 2564 - 2566 มีจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 1,590, 1,726
                  และ 2,535 ราย ตามลำดับ และมีอัตราตายร้อยละ 9.93, 10.02 และ 13.09 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น

                  ในทุกๆ ปี
                         โรคหลอดเลือดสมองทำให้เกิดอาการผิดปกติของระบบประสาทแบบเฉียบพลัน และทวีความรุนแรง
                  มากขึ้นหากได้รับการรักษาล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันการรักษาได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมี
                  ระยะเวลาการเกิดอาการของโรคเป็นตัวกำหนดทางเลือกในการรักษา คือในระยะเฉียบพลัน 3-4.5 ชั่วโมง

                  นับตั้งแต่เกิดอาการ จะต้องแก้ไขภาวะหลอดเลือดสมองอุดตัน ให้กลับมาไหลเวียนได้เป็นปกติเร็วที่สุด เพื่อ
                  ป้องกันเซลล์สมองตายและเนื้อสมองขาดเลือดอย่างถาวร อันจะส่งผลต่อความพิการหรือเสียชีวิตได้
                         จากการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลนครปฐม พบว่าสิ่งที่มีผลกระทบต่อความรุนแรง

                  ของโรคนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลล่าช้าจากความไม่รู้อาการสำคัญที่ต้องรีบมา
                  โรงพยาบาลระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่ล่าช้า รวมถึงเรื่องของการรักษา คือ การให้ยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) การสวนหลอด
                  เลือดสมอง (Mechanical Thrombectomy) การได้รับการดูแลในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke
                  Unit) การดูแลรักษาโดยแพทย์ พยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความรู้ความชำนาญ รวมถึงการติดตาม
                  ดูแลอย่างต่อเนื่องหลังจำหน่าย ซึ่งส่งผลต่อการฟื้นหายและทำให้ผู้ป่วยและญาติมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจรโรงพยาบาลนครปฐม
                         2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเข้าถึงการรักษาตามมาตรฐาน

                  วิธีการศึกษา
                         1. จัดตั้งทีมในการดำเนินงาน กำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน และกลุ่มเป้าหมายในการ

                  พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจรโรงพยาบาลนครปฐม
                         2. เก็บรวบรวมข้อมูลพร้อมค้นหา ปัญหา สาเหตุของการเข้าถึงการรักษาโรคหลอดเลือดสมองที่ล่าช้า
                  ของโรงพยาบาลนครปฐม และโรงพยาบาลในเครือข่ายโรงพยาบาลนครปฐม
                         3. ประชุมชี้แจงปัญหาและสาเหตุของการเข้าถึงการรักษาที่ล่าช้า พร้อมทั้งจัดทำแนวทางพัฒนาระบบ

                  การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจรโรงพยาบาลนครปฐมกับบุคลากรและหน่วยงานที่มีส่วน
                  เกี่ยวข้อง โดยลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น โดยมีแนวทางการพัฒนาระบบดังนี้
   405   406   407   408   409   410   411   412   413   414   415