Page 411 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 411

K6



                            Pre – Hospital
                            1. จัดทำโครงการ Stroke Alert & Stroke awareness ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
                  นครปฐมให้กับผู้นำชุมชน (อสม.) ทั้งจังหวัดนครปฐมติดต่อกันทุกปี

                            2. พัฒนาระบบ Stroke fast track แบบไร้รอยต่อกับโรงพยาบาลเครือข่ายในจังหวัดนครปฐม
                            3. จัดทำ Flow Stroke Fast Track โรงพยาบาลเครือข่ายในจังหวัดนครปฐม เช่น EMS ออกรับ
                  ผู้ป่วย Stroke fast track และอาการคงที่ให้ส่งเข้าแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลนครปฐมได้เลย
                  การทำบัตรประจำตัวโรงพยาบาลล่วงหน้าขณะ Refer in การให้ยาลดความดันโลหิตก่อน Refer ในผู้ป่วยที่มี

                  ความดันโลหิตสูงมากกว่า 185/110 mmHg เพื่อลด Door to needle time ในการให้ยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA)
                            4. ติดตามนิเทศ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับโรงพยาบาลเครือข่าย และให้ความรู้ที่ทันสมัย
                  โดยแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทและทีมแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
                            5. พัฒนา Node การให้ยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) ในโรงพยาบาลที่มีเครื่อง CT Scan และมี

                  ศักยภาพ คือโรงพยาบาลสามพราน และเพิ่ม Node การให้ยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA)ที่โรงพยาบาล
                  กำแพงแสนในปีพ.ศ. 2568
                            In – Hospital
                            1. พัฒนาระบบ Stroke fast track ในโรงพยาบาลนครปฐม โดยขยายเวลาจาก 0-4.5 ชั่วโมง เป็น

                  0-4.5 ชั่วโมง และ 4.5-8 ชั่วโมง
                            2. พัฒนาสมรรถนะพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อรองรับการเป็นศูนย์
                  โรคหลอดเลือดสมองครบวงจร ตามนโยบายศูนย์เชี่ยวชาญโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลนครปฐม
                            3. พัฒนาหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยขอรับรอง Stroke Unit มาตรฐาน ขอประเมิน SSCC

                  เข้าร่วมโครงการ World Stroke Organization และขอรับการประเมิน DSC โรคหลอดเลือดสมองในปี 2567
                            4. ขยายเตียงบริการจาก 24 เป็น 30 เตียง เพื่อรองรับศูนย์โรคหลอดเลือดสมองเขตสุขภาพที่ 5
                            Post – Hospital

                            1. พัฒนาระบบการติดตามผู้ป่วยหลังจำหน่าย โดยการตอบกลับข้อมูลผ่าน Discharge Tracking
                  นอกเหนือจากการตอบกลับใบ Refer
                            2. พัฒนาระบบบริการ Refer back โดยการอบรมเพิ่มสมรรถนะพยาบาลในโรงพยาบาลเครือข่าย
                  เพื่อสร้างความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยในกรณีส่งกลับไปรักษาต่อโรงพยาบาลต้นสังกัด
                            3. พัฒนาระบบการติดตามผู้ป่วยหลังจำหน่ายทางโทรศัพท์ โดย Nurse Case Manager Stroke

                  ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด(rt-PA), การสวนหลอดเลือดสมอง(Mechanical
                  Thrombectomy) ทุกราย และ ส่งศูนย์เยี่ยมบ้าน(COC)ในกรณี MRS ≥ 3, BI ≤ 75 คะแนน ใส่อุปกรณ์กลับ
                  บ้านเช่น Tracheostomy tube, NG tube, Folley 's catheter  รวมถึงผู้ป่วยที่มีความยุ่งยากซับซ้อในการ

                  ดูแล  โดยมีการประสาส่งต่อให้ชุมชนและองค์กรท้องถิ่นรับทราบ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
                         4. ประชุมชี้แจงและเริ่มใช้แนวทางการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร
                  โรงพยาบาลนครปฐม ติดตามปัญหาและผลลัพธ์ นำกลับไปแก้ไข พร้อมทั้งประชุมชี้แจงปรับปรุงแนวทางการ
                  แก้ไขการพัฒนาระบบ กับบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                         5. สรุปและติดตามผลลัพธ์แนวทางการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร
                  โรงพยาบาลนครปฐม
   406   407   408   409   410   411   412   413   414   415   416