Page 406 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 406
K1
ศึกษาการเพิ่มคุณค่าของประสิทธิภาพเชิงพยากรณ์ในการใช้ THRIVE score ร่วมกับ 24-hour
ASPECTS และ hemoglobin to red cell distribution width ratio
สำหรับพยากรณ์การเสียชีวิตในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลัน
ที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ
นายแพทย์สราวุธ ครองสัตย์
โรงพยาบาลสระบุรี จังหวัดสระบุรี เขตสุขภาพที่ 4
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรคหลอดเลือดสมองยังคงเป็นสาเหตุการตายที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสอง และเป็นสาเหตุหลักของ
ความพิการทั่วโลก แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าในการรักษาที่เพิ่มมากขึ้น ในประเทศไทยอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่
10-50% ของผู้ป่วยมีความทุพพลภาพ การรักษาหลักสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน คือการ
รักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด recombinant tissue plasminogen activator (rt-PA) อย่างไรก็ตามยา
ดังกล่าวเป็นที่ทราบกันดีว่าช่วยให้ผลลัพธ์การรักษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองดีขึ้น แต่ไม่ทำให้การเสียชีวิต
จากโรคหลอดเลือดสมองลดลง การ early detection, การเผ้าระวัง และ การสร้างมาตรการที่เหมาะสม เพื่อ
จัดลำดับความสำคัญ และ แบ่งกลุ่มตามความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต จัดเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพื่อประโยชน์ใน
การบริหารจัดการเตียงผู้ป่วยใน stroke unit ได้อย่างเหมาะสม และเพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีพของผู้ป่วยโรค
หลอดเลือดสมอง คะแนน Totaled Health Risks in Vascular Events (THRIVE) เป็นเครื่องมือที่ใช้ง่าย และ
สะดวกในการใช้พยากรณ์ผลลัพธ์ทางคลินิกของโรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ตามเครื่องมือดังกล่าว ยังขาด
ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการ และ ภาพรังสีสมอง ซึ่งทำให้มีข้อจำกัดเรื่องความแม่นยำในการพยากรณ์โรคของ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
วัตถุประสงค์การศึกษา
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการเพิ่มคุณค่าการพยากรณ์การเสียชีวิตในโรงพยาบาลของ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่ได้รับยาสลายลิ่มเลือด rt-PA โดยใช้ 24-hour Alberta Stroke
Program Early CT Score (ASPECTS) และ hemoglobin-to-red cell distribution width (HB/RDW)
ratio ร่วมกับ THRIVE score โดยใช้ multivariable fractional polynomial (MFP) method (combined
THRIVE-MFP) เทียบกับ THRIVE-c model
วิธีการศึกษา
การศึกษานี้ ศึกษาในรูปแบบ observational retrospective cohort study โดยเก็บข้อมูล
electronic medical record ของโรงพยาบาลสระบุรี ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ถึง กรกฎาคม พ.ศ.
2565 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด rt-PA โดยผู้วิจัย
เก็บรวบรวมข้อมูล ตัวแปร THRIVE score (อายุ, National Institutes of Health Stroke Scale [NIHSS],
และ Chronic Disease Scale (CDS) factors ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน และ atrial
fibrillation [AF]), 24-hour ASPECTS, และ HB/RDW ratio ซึ่งเป็นข้อมูลของผู้ป่วยแรกรับที่โรงพยาบาล
ผู้วิจัยประเมิน Prognostic added-value ของ 24-hour ASPECTS และ HB/RDW ร่วมกับ THRIVE
score ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ผู้วิจัยสร้าง 2 logistic regression models แยกกันได้แก่ THRIVE-c
และ combined THRIVE-MFP โดยที่ model ที่ 1(THRIVE-c calculation) เป็น model-predicted