Page 425 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 425
K20
ระยะที่ 2
ผู้วิจัยนำแนวทางการเฝ้าระวังอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ ห้องตรวจแผนกผู้ป่วยนอก ไปใช้จริงใน
แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบางปะกง ในปีงบประมาณ 2567 เป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นนำมาสรุปผลและ
ความเป็นไปได้ในการนำแนวทางฯ ที่พัฒนาขึ้นไปใช้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันและสนทนากลุ่ม คือ พยาบาลวิชาชีพ ผู้ช่วยเหลือ
คนไข้งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบางปะกง จำนวน 10 คน
2. ผู้ป่วย 3 S (Stroke STEMI Sepsis) ที่มีอาการไม่คงที่ที่ต้องใช้ช่องทางด่วน (urgent ) ในOPD
(สีเหลือง) ไตรมาสก์แรกในปีงบประมาณ 2567 (3 เดือนแรก) จำนวน 789 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. แนวทางการเฝ้าระวังอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ ห้องตรวจแผนกผู้ป่วยนอก ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นใหม่
มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity index CVI.) เท่ากับ 1.00
2. แบบสังเกตตามแนวทางการเฝ้าระวังอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา
(Content validity index CVI.) เท่ากับ 1.00
สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล Descriptive statistics ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการศึกษา
1. แนวทางการเฝ้าระวังอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ ห้องตรวจแผนกผู้ป่วยนอก ประกอบด้วย
1) การคัดกรองตามเกณฑ์ triage ช่องทางด่วน (urgent) ในOPD 2) การติดตามต่อเนื่อง และเกณฑ์ในการ
reassessment 3) ความถูกต้องในการระบุระดับอาการและการสื่อสารระดับความรุนแรง ประกอบด้วย
แบบฟอร์ม ป้ายบอกสีและพยาบาลเจ้าของไข้ และ 4) เกณฑ์ในการปรึกษาแพทย์ และผลการนำแนวทางที่
พัฒนาขึ้นไปใช้
2. จำนวน ร้อยละผู้ป่วยอาการไม่คงที่ที่ต้องใช้ช่องทางด่วน (urgent) ใน OPD พบว่าไม่มีผู้ป่วยที่มี
อาการทรุดลงขณะรอตรวจ จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0.00 ในปีงบประมาณ 2567 และลดต่ำลงกว่า
ปีงบประมาณ 2566 ที่มีจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.17
3. จำนวน ร้อยละของการปฏิบัติตามแนวทางการเฝ้าระวังอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ ห้องตรวจ
แผนกผู้ป่วยนอก ที่ได้รับการ triage ตามเกณฑ์ ครบทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 การใช้เกณฑ์ triage ช่องทางด่วน
(urgent) ใน OPD จำนวน 779 คน คิดเป็นร้อยละ 98.73 การ reassessment ตามเวลา จำนวน 739 คน คิด
เป็นร้อยละ 93.66 และการใช้แบบฟอร์ม ป้ายบอกสี และระบุพยาบาลเจ้าของไข้ จำนวน 689 คน คิดเป็นร้อย
ละ 87.32
4. กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโปรแกรมนี้มีประโยชน์และความเป็นไปได้ในการนำโปรแกรมไปใช้
อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.92 , 0.29 ( X ,SD.)
อภิปรายผล
การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ ห้องตรวจแผนก
ผู้ป่วยนอก โดยดำเนินการในผู้ป่วย 3 S (Stroke STEMI Sepsis) ที่มีอาการไม่คงที่ที่ต้องใช้ช่องทางด่วน
(urgent ) ใน OPD (สีเหลือง) ซึ่งเป็นโรคยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาลบางปะกง ในปีงบประมาณ 2567
ตามขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบศึกษาผลและการสะท้อนเพื่อให้โรงพยาบาลมีแนวทาง