Page 426 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 426
K21
ในการเฝ้าระวังอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ ลดความเสี่ยงต่อการสูญเสีย โดยเริ่มตั้งแต่การคัดกรอง โดยการ
ปรับเกณฑ์ triage ช่องทางด่วน (urgent) ใน OPDให้ชัดเจนและมีความไวในการคัดกรอง การประเมิน
การ reassessment ตามเวลาที่กำหนด การปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัย รวมถึงการจัดทำสัญลักษณ์แบ่งสี
การใช้แบบฟอร์มตามป้ายบอกสี และระบุพยาบาลเจ้าของไข้เพื่อการสื่อสารและดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
โดยเริ่มจากการชี้แจงแนวทางที่พัฒนาขึ้นใหม่ และให้สมาชิกในทีมได้ทดลองใช้ ทดลองนำไปใช้และสรุปผลการ
ดำเนินงาน โดยพบว่าผลการดำเนินงานส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับบริการอย่างมีประสิทธิภาพ ลดจำนวนการทรุดลง
ระหว่างรอตรวจ ทั้งนี้เนื่องจากในการพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ ห้องตรวจ
แผนกผู้ป่วยนอก ใช้การประชุมที่มุ่งหาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เป็นการพัฒนางานอย่างมีแบบแผนได้แก่
การกำหนดหัวข้อเรื่องในการสนทนาที่ชัดเจน การมีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวทาง การฝึกปฏิบัติก่อนใช้จริง
รวมถึงการกำหนดเป้าหมายในการที่พัฒนาที่ชัดเจน จึงส่งผลให้แนวทางที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ
สรุปและข้อเสนอแนะ
1. รูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้มาใช้ในการพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังอาการทรุดลงระหว่าง
รอตรวจ ห้องตรวจแผนกผู้ป่วยนอก
2. ขยายขอบเขตในผู้ป่วยโรคอื่นๆ ต่อไป