Page 424 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 424

K19


                   การพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ ห้องตรวจแผนกผู้ป่วยนอก


                                                                                 นางสาวอุษา ชุมเกษียร และคณะ

                                                              โรงพยาบาลบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เขตสุขภาพที่ 6
                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหา

                         การทรุดลงของผู้ป่วยระหว่างรอตรวจ ห้องตรวจแผนกผู้ป่วยนอก เป็นปัญหาสำคัญที่แสดงถึงคุณภาพ
                  การพยาบาลและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความรุนแรงในการรักษาอาจเกิดอันตรายชั่วคราวแก่ผู้ป่วยและ
                  ต้องให้การรักษาเพิ่มมากขึ้นหรือรุนแรงจนเสียชีวิต จากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า มีผู้ป่วยที่มารับบริการ

                  แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบางปะกง ที่มีอาการทรุดลง ในปีงบประมาณ 2563, 2564, 2565 จำนวน 0, 0,
                  4 คน ตามลำดับ และในปีงบประมาณ 2566 พบปัญหาผู้ป่วยอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ คิดเป็นร้อยละ
                  0.18 ซึ่งเป็นความเสี่ยงระดับ E เป็นความผิดพลาดถึงผู้ป่วย จนส่งผลเสียต่ออาการที่รุนแรงและเสียคุณภาพ
                  ชีวิตตามมา จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้ทบทวนแนวทางการปฏิบัติงานเดิม พบว่า หน่วยงานมีแนวทาง
                  การคัดกรองส่งช่องทางด่วน มีแบบส่งพบแพทย์ช่องทางด่วน แต่ยังพบปัญหา คือยังไม่มีเกณฑ์ที่ชัดเจนการ

                  คัดกรองและแยกผู้ป่วยในแผนกผู้ป่วยนอกที่ชัดเจน ประเมินอาการ อาการแสดงของผู้ป่วยที่ยังไม่ครอบคลุม
                  ขาดการลงบันทึกและการดูแลที่ต่อเนื่อง รวมทั้งผู้รับบริการมีจำนวนมากไม่มีจุดสังเกตที่ชัดเจน ในคนไข้ที่ต้อง
                  เฝ้าระวังอาการ หรือบางครั้งแพทย์ยังไม่ออกตรวจและระยะเวลาในการรอคอยคิวตรวจนาน ทางหน่วยงาน

                  จึงได้พัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจสำหรับผู้ป่วย 3 S (Stroke
                  STEMI Sepsis) ช่องทางด่วน (urgent) ใน OPDขึ้น

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจของห้องตรวจผู้ป่วยนอก
                         2. เพื่อศึกษาผลของแนวทางการเฝ้าระวังอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจของห้องตรวจผู้ป่วยนอก

                  วิธีการศึกษา

                         การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน
                  (Planning) 2) การปฏิบัติ (Action) 3) การติดตามผลการปฏิบัติด้วยการสังเกต (Observation) และ

                  4) การสะท้อน (Reflection) ดังนี้
                         ระยะที่ 1

                         ขั้นที่ 1 การวางแผน (Planning) ในขั้นตอนนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการสนทนากลุ่ม (focus group) เพื่อ

                  ศึกษาปัญหา สาเหตุและหาแนวทางพัฒนา
                         ขั้นที่ 2 การปฏิบัติ (Action) ขั้นนี้ผู้วิจัยนำแนวทางฯ ที่พัฒนาขึ้นใหม่จากขั้นตอนที่ 1 มาดำเนินการ

                  ประชุมให้ทีมงานเพื่อทำความเข้าใจในแต่ละองค์ประกอบ ทดลองให้บริการที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก เป็นเวลา 1 เดือน
                         ขั้นที่ 3 การติดตามผลการปฏิบัติด้วยการสังเกต (Observation)

                         ขั้นที่ 4 การสะท้อน (Reflection) ในขั้นตอนนี้ผู้วิจัยสรุปผลการพัฒนาทั้งเชิงบวกและเชิงลบเพื่อเป็น

                  การสะท้อนคิดผลของการปฏิบัติว่าได้ดำเนินการตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้หรือไม่ จากนั้นนำข้อเสนอแนะต่างๆ
                  มาปรับเพื่อให้สมบูรณ์และวางแผนนำไปใช้ต่อไป
   419   420   421   422   423   424   425   426   427   428   429