Page 455 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 455
L4
การพัฒนารูปแบบชุดกิจกรรมการให้บริการ TTM office syndrome package
งานแพทย์แผนไทยฯ โรงพยาบาลเทพา
นายจรัญ คงสุวรรณ และนางสาวนารีรัตน์ มีหัด
โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา เขตสุขภาพที่ 12
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
อาการปวดเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยเป็นสัญญาณเตือนให้ทราบว่ามีความผิดปกติหรืออันตราย
เกิดขึ้นต่อเนื้อเยื่อของร่างกาย ทำให้อาการปวดถูกจัดเป็นสัญญาณชีพที่ห้า (The fifth vital sigh) ของมนุษย์
ในปัจจุบันอาการปวดกล้ามเนื้อจากโรค Office syndrome และ Myofascial pain syndrome มีแนวโน้ม
เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลุ่มอาการปวดตึงกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด เป็นอาการที่เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย
โดยเฉพาะวัยทำงาน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากท่าทางหรือลักษณะในการทำงานที่ไม่เหมาะสมและทำต่อเนื่องเป็น
เวลานานๆ ขาดการผ่อนคลายหรือยืดกล้ามเนื้อเพื่อลดความตึงเครียด ซึ่ง Myofascial Pain syndrome
(MPs) เป็นโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม จากรายงาน 20 อันดับ
โรค/บริการผู้ป่วยนอกที่พบบ่อย โรงพยาบาลเทพา (ข้อมูลจากโปรแกรมHos-xp) พบว่า 20 อันดับแรกของโรค
ที่พบสูงสุด 4 ปีย้อนหลัง (2562,2563,2564,2565) โรคระบบกล้ามเนื้อ (M6268) มีจำนวนครั้งมากติดอันดับ
ในทุกปี นอกจากนี้โรคลมปลายปัตคาต (U5733,U5732) มีจำนวนครั้งมากติดอันดับในทุกปีเช่นเดียวกัน ซึ่ง
อาการปวดกล้ามเนื้อสามารถบรรเทาได้ด้วยวิธีการบำบัดทางแพทย์แผนไทยฯ แต่เนื่องจากเดิมมีการให้บริการ
นวด ประคบเป็นกิจกรรมหลักทางแพทย์แผนไทยฯเท่านั้น ทำให้ผู้รับบริการไม่พึงพอใจต่อผลของการบรรเทา
อาการปวดกล้ามเนื้อเกิดอุบัติการณ์ข้อร้องเรียนในการรับบริการแพทย์แผนไทยฯ กลุ่มงานแพทย์แผนไทยฯ
รพ.เทพา เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้มีการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา fishbone Analysis ใช้
กระบวนการ PDCAในการพัฒนารูปแบบชุดกิจกรรมการให้บริการ TTM office syndrome package ขึ้น โดย
ต่อยอดจากกิจกรรมการพัฒนารูปแบบชุดกิจกรรม TTM new normal model package ที่ให้บริการในช่วง
โควิด 19 อำเภอเทพา การให้บริการแพทย์แผนไทยฯ วิถีใหม่ในลักษณะ New normal ช่วงสถานการณ์ของ
COVID-19 อำเภอเทพา เพื่อเป็นการปรับการให้บริการแพทย์แผนไทยฯ ระยะยาวให้เหมาะสม มีคุณภาพ
ปลอดภัย เกิดประโยชน์และเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาทางแพทย์แผนไทยฯ
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อเปรียบเทียบระดับความปวด อาการปวดกล้ามเนื้อก่อน-หลังได้รับบริการด้วยรูปแบบชุด
กิจกรรมการให้บริการ TTM office syndrome package
2. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบและผลการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อด้วยชุดกิจกรรม
การให้บริการ TTM office syndrome Package ระดับมากที่สุด
วิธีการศึกษา
เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้กระบวนการ PDCA ในการพัฒนารูปแบบชุดกิจกรรมการให้บริการ
แพทย์แผนไทยฯก่อนปรับใช้รูปแบบชุดกิจกรรมการให้บริการ TTM office syndrome Package มีการนวด
และประคบเท่านั้น โดยรูปแบบชุดกิจกรรมการให้บริการ มี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้น
ดำเนินการแบ่งเป็น 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมช่วงก่อนได้รับบริการหลักทางแพทย์แผนไทยฯ
(การซักประวัติเบื้องต้น การตรวจวิเคราะห์สมุฏฐานฐานการเกิดโรคทางแพทย์แผนไทยฯ การตรวจทางหัตถเวช
กรรมแผนไทยและการวินิจฉัย สั่งการรักษา) กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมช่วงระหว่างได้รับบริการหลักทางแพทย์แผน