Page 459 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 459
L8
การพัฒนานวัตกรรมหุ่นฝึกทักษะการนวดแบบมณีเวชในทารกเกิดก่อนกำหนด (Innovation
development in training on maneevej massage skills in premature infants)
นางอารีรัตน์ นวลแย้ม และนางสาวณณัท ฐขวัญแก้ว
โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เขตสุขภาพที่ 12
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ทารกแรกคลอดก่อนกำหนด มักมีการพัฒนาระบบต่างๆในร่างกายไม่สมบูรณ์โดยเฉพาะเรื่องการดูดกลืน
เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการดูดกลืนยังไม่แข็งแรงและการควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณปากยังทำได้ไม่ดี ทำให้
ไม่สามารถดูดกลืนได้เป็นปกติจำเป็นต้องได้รับสารอาหารทางสายยาง ในบางรายอาจต้องให้สารอาหาร
ทางหลอดเลือดดำแทนเมื่อต้องให้อาหารทางสายยางส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณรอบปากและภายในปากไม่ได้รับ
การกระตุ้น การนวดแบบมณีเวชเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตให้ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ
ของร่างกายดีขึ้น กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและมีความตึงตัวมากขึ้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ปลอดภัย นิ่มนวล ใช้ต้นทุน
ต่ำช่วยให้ทารกสามารถดูดกลืนนมได้ดีในปริมาณที่มากขึ้นรวมถึงสามารถถอดสายยางให้อาหารและจำหน่าย
กลับบ้านได้เร็วขึ้นส่งผลให้จำนวนวันนอนโรงพยาบาลน้อยลง การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สำนักงาน
เขตสุขภาพที่ 12 มีการให้ความสำคัญและส่งเสริมการดูแลทารกแรกเกิด โดยมีการสนับสนุนการดูแลทารกแรกเกิด
ให้ปลอดภัย จากสถิติเวชระเบียนของโรงพยาบาลหาดใหญ่ 3 ปีย้อนหลัง พบว่า มีจำนวนทารกแรกเกิดก่อนกำหนด
ในปี พ.ศ. 2563-2565 พบว่ามีจำนวน 338 ราย, 249 ราย, 305 ราย ตามลำดับ ซึ่งพบว่าจำนวนทารกแรกเกิด
ก่อนกำหนดหลังผ่านพ้นระยะวิกฤติแล้วมีปัญหาดูดกลืนเฉลี่ย 20 รายต่อเดือน ทำให้ต้องใส่สายยางให้นม
เด็กกลุ่มนี้ต้องรอให้ดูดกลืนดีขึ้นจึงจะสามารถจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลได้โดยเฉลี่ยมีระยะวันนอนเพิ่มขึ้น
ประมาณ 10 วัน นอกจากนี้จากการศึกษาเกี่ยวกับการกระตุ้นการดูดกลืนที่ผ่านมาพบว่า มีการใช้โปรแกรม
หรือแนวทางการกระตุ้นการดูดกลืนหลายวิธี เช่น การนวดกระตุ้นการดูดกลืนโดยใช้ไฟฟ้า การดูดจุกนมปลอม
การใช้เสียงดนตรีคู่กับการดูดจุนมปลอม หรือการนวดกระตุ้นการดูดกลืนโดยใช้มือตามหลักการของกายภาพบำบัด
และการใช้โปรแกรมการนวดแบบมณีเวช (พลอยธศร ขวัญแก้ว, 2560) ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรูปแบบการสอนทฤษฎี
เป็นการใช้คู่มือ ตำรา หรือแผ่นพับและบุคลากรลงมือปฏิบัติให้ ส่วนใหญ่ผู้สอนจะบรรยายร่วมกับใช้สื่อสาธิต
การนวดให้ดูเป็นตัวอย่าง ทำให้มารดายังมองเห็นภาพได้ไม่ชัดเจน ต้องใช้จินตนาการมากขึ้นในการทำความเข้าใจ
และไม่สามารถฝึกทบทวน ความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้มารดาบอกท่าในการนวดทารกแรกเกิดได้ไม่แม่นยำ
ไม่เต็มศักยภาพ ดังนั้นเมื่อมารดาได้รับความรู้และฝึกฝนทักษะ จะช่วยให้มารดารู้สึกมีความมั่นใจและกล้า
ที่จะดูแลทารกได้มากขึ้น
สื่อการสอนเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีผลต่อในการเรียนรู้ช่วยให้ผู้เรียนยังเรียนรู้ได้ตามความสามารถ
ของตนเองโดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล สื่อการสอนที่เป็นหุ่นจำลองทางด้านวิทยาศาสตร์
และการแพทย์ เป็นสื่อวัสดุลอยตัวแบบสามมิติประเภทหนึ่งซึ่งนิยมใช้ในการเรียนการสอนทางด้านการแพทย์
ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เข้าใจได้ง่าย และมีความสะดวกกว่าการใช้ของจริง
ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการพัฒนาหุ่นฝึกทักษะการนวดแบบมณีเวช โดยมีความสมจริงทางด้านกายวิภาค
สามารถทดลองใช้ในการฝึกทักษะการนวดแบบมณีเวชแบบสมจริง เพื่อฝึกมารดาให้สามารถใช้การนวดแบบมณีเวช
ให้ทารกเพื่อให้มารดามีความมั่นใจ มีทักษะการนวด โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง
ของ Bandura (1997) ตามกลยุทธ์ของการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ