Page 460 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 460

L9


                  การบริการ สนับสนุน ส่งเสริม และ สร้างความมั่นใจให้แก่มารดา ตอบสนองตามยุทธศาสตร์ ส่งเสริมการวิจัย

                  และพัฒนานวัตกรรม
                  วัตถุประสงค์
                         1. เพื่อศึกษาความต้องการหุ่นเพื่อใช้ในการฝึกทักษะการนวดแบบมณีเวช

                         2. เพื่อสร้างและพัฒนาหุ่นฝึกการนวดแบบมณีเวช
                         3. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของหุ่นฝึกการนวดแบบมณีเวช
                  วิธีการศึกษา
                         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (Innovation Research and Development)
                  มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการหุ่นเพื่อใช้ในการฝึกทักษะการนวดแบบมณีเวช 2) เพื่อสร้างและ

                  พัฒนาหุ่นฝึกการนวดแบบมณีเวช 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของหุ่นฝึกการนวดแบบมณีเวช วิธีดำเนินการวิจัย
                  ดังนี้
                         ประชากร คือมารดาของทารกคลอดก่อนกำหนดในหอผู้ป่วยบริบาลทารกแรกเกิด โรงพยาบาลหาดใหญ่

                         กลุ่มตัวอย่าง คือมารดาทารกคลอดก่อนกำหนดที่ทารกได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีปัญหาเรื่อง
                  การดูดกลืน
                         ผู้วิจัยคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้โปรแกรม G*Power 3.1 กำหนดอำนาจการทดสอบ (β) = .80
                  ความเชื่อมั่น (α) = .05 (รัตน์ศิริทาโต, 2561) และ กำหนดค่าอิทธิพล (effect size) = .50 ซึ่งเป็นค่าอิทธิพล
                  ระดับปานกลาง (Cohen, 1988) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 34 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมีนาคม

                  ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติ ดังนี้ โดย
                         กำหนดเกณฑ์การคัดเข้า (inclusion criteria) คือ มารดาทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีปัญหาการดูดกลืน,
                  ทารกคลอดก่อนกำหนดที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจ ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่รุนแรง,

                  สามารถสื่อสารเข้าใจ, มีความตั้งใจในการเรียนรู้, มารดายินยอมให้เข้าร่วมการวิจัย
                         และมีเกณฑ์การคัดออก (exclusion criteria) คือ มารดาไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้, มารดาไม่สามารถ
                  ทำต่อเนื่องได้, มารดาไม่ยินยอมให้เข้าร่วมการวิจัย ซึ่งการดำเนินการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้
                         ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการหุ่นเพื่อใช้ในการฝึกทักษะการนวดแบบมณีเวช
                         ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ความต้องการของมารดาหลังคลอดและพยาบาล โดยการสอบถามสนทนา

                  ในกลุ่มย่อย พบว่าผู้ให้ข้อมูลต้องการหุ่นฝึกที่มีความสะดวกในการใช้งาน เคลื่อนย้ายได้ง่าย ไม่เปื่อย ความทนทาน
                  และสวยงาม มีกายวิภาคใกล้เคียงกับของจริง เป็นต้น
                         ขั้นตอนที่ 2 สร้างและพัฒนาหุ่นฝึกการนวดแบบมณีเวช

                         ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้
                         1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และผู้เชี่ยวชาญ ทีมผู้วิจัย ประชุมปรึกษาเพื่อสร้างหุ่น
                  ฝึกทักษะการนวดแบบมณีเวช
                         2. สร้างชุดหุ่นฝึกทักษะ หลังจากจัดทำหุ่นและส่วนประกอบหุ่นฝึกการนวดแบบมณีเวชตามคุณสมบัติ
                  ที่กำหนดแล้วในขั้นตอนนี้ผู้วิจัยได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสร้างหุ่นฝึกดังกล่าวในระยะที่ 1

                         3. ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ทีมผู้วิจัยจัดวิพากษ์หุ่นฝึกโดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านปฏิบัติการพยาบาล
                  จากโรงพยาบาลศูนย์ อาจารย์พยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านช่าง และมารดาหลังคลอด
                         4. ทดลองใช้ หลังจากนั้นผู้วิจัยจึงพัฒนาหุ่นฝึกการนวดแบบมณีเวช แล้วจึงให้มารดาทารกหลังคลอด

                  จำนวน 5 คน ทดลองใช้แล้วตอบแบบสอบถาม โดยครอบคลุมหัวข้อความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และ
                  ประโยชน์ต่อมารดาหลังคลอด โดยใช้เวลาในการทดลองใช้หุ่นจำลองและตอบแบบสอบถามประมาณ 30 นาที
                  5.พัฒนาหุ่นฝึก หลังการทดลองใช้แล้วผู้วิจัยได้พัฒนาหุ่นฝึกการนวดแบบมณีเวชต่อโดยได้ปรับปรุงและพัฒนา
   455   456   457   458   459   460   461   462   463   464   465