Page 495 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 495
L44
ค่อนข้างหายากทำให้บางครั้งต้องรอตามฤดูหรือรอการขนส่ง จากการทบทวนวรรณกรรมและการศึกษาการใช้
เมล็ดลำใยรักษาการปวดเข่า พบว่ามี สารโพลีฟีนอลทั้งสามตัวในสารสกัดเมล็ดลำไยสามารถป้องกันการเสื่อม
สลายและยืดอายุกระดูกอ่อนได้ยาวนานขึ้น ด้วยเหตุนี้ทางผู้วิจัยจึงได้นำเมล็ดลำใยมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์
70 เปอร์เซ็นต์ ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ กรองเอาน้ำแล้วมาผสมกับแป้งข้าวเจ้าปั้นจนเป็นก้อน นำไปพอกเข่าของผู้ป่วย
ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกุดรัง อำเภอกุดรัง มหาสารคาม ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาประสิทธิผลของการพอกเข่า
ด้วยสารสกัดเมล็ดลำใยต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม มีอาการข้อเข่าเสื่อมนั้นได้ผลเป็นอย่างไร
เพื่อให้ผู้ป่วยนําความรู้ที่ได้ใช้ดูแลสุขภาพตัวเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นประโยชน์ในการทดแทนการใช้ยา
แผนปัจจุบันและนําไปสู่การส่งเสริมให้ประชาชนปลูกสมุนไพรไว้ดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเจ็บป่วย
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพอกเข่าด้วยสารสกัดเมล็ดลำใยต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
ก่อนและหลังการได้รับการรักษาด้วยวิธีการพอกเข่า โรงพยาบาลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม
วิธีการศึกษา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) มีกลุ่มตัวอย่างเดียว
ทดสอบก่อน – หลัง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพอกเข่าด้วยสารสกัดเมล็ดลำใยต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วย
โรคข้อเข่าเสื่อม การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะ คือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็น
โรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 30 ราย โดยใช้แบบประเมินความเจ็บปวดตามมาตราวัด Visual Rating Scales:VRS
วัดระดับความเจ็บปวดก่อน - หลังการรักษา ทำการรักษาด้วยการพอกเข่าด้วยสารสกัดเมล็ดลำใย ครั้งละ 20 นาที
วันเว้นวัน จำนวน 5 ครั้ง ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง และนำไปวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษา
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60 มีอายุอยู่ระหว่าง 55 - 59 ปี ร้อยละ 40
อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 59.63 ปี รองลงมาอายุ 50 – 54 ปี และอายุ 60 –64 ปี ร้อยละ 20
ส่วนที่ 2 ข้อมูลระดับความเจ็บปวดก่อนและหลังการการพอกเข่าด้วยสารสกัดเมล็ดลำไย พบว่า
หลังการเข้าร่วมการพอกเข่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยของระดับความเจ็บปวดเท่ากับ 2.43 ซึ่งต่ำกว่าก่อนการเข้าร่วม
การพอกเข่าที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยของระดับความเจ็บปวดเท่ากับ 5.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value)
ที่ระดับ 0.01
อภิปรายผล
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพอกเข่าด้วย
สารสกัดเมล็ดลำใยต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนและหลังการได้รับการรักษาด้วยวิธีการพอกเข่า
โรงพยาบาลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 ราย ผลการศึกษา พบว่า
ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60 มีอายุอยู่ระหว่าง 55 - 59 ปี ร้อยละ 40 อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 59.63 ปี รองลงมา
อายุ 50 – 54 ปี และอายุ 60 –64 ปี ร้อยละ 20 ระดับความเจ็บปวดก่อนและหลังการพอกเข่าด้วยสารสกัด
เมล็ดลำไย ก่อนการเข้าร่วมการพอกเข่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยของระดับความเจ็บปวดเท่ากับ 5.90 หลังการเข้าร่วม
การพอกเข่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยของระดับความเจ็บปวดเท่ากับ 2.40 มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value) ที่ระดับ
0.01 ดังนั้นจากผลการศึกษาการพอกเข่าด้วยสารสกัดเมล็ดลำไย สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดข้อในผู้ป่วย
ข้อเข่าเสื่อมได้ และสอดคล้องกับการศึกษาของอุษณีย์ วินิจเขต ได้พัฒนาสารสกัดลำไยเพื่อผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
โดยพัฒนาเป็นครีมนวดใช้ทาภายนอก จากผลจาการทดสอบดังกล่าว สามารถนำมาใช้บรรเทาอาการปวด
ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมอักเสบได้และ มีความปลอดภัยที่สูงกว่าเพราะไม่มีผลต่อตับและไต นอกจากนี้