Page 494 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 494
L43
ประสิทธิผลของการพอกเข่าด้วยสารสกัดเมล็ดลำไยต่ออาการปวดเข่า
ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโรงพยาบาลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม
นางสาวธีรพร อัสโม
โรงพยาบาลกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม เขตสุขภาพที่ 7
ประเภท วิชาการ
ที่มาและความสำคัญ
โรคเข่าเสื่อมถือเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากการใช้งานของข้อเข่ามาเป็น
เวลานาน เมื่อปี พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก(WHO) รายงานว่ามีผู้ป่วยกระดูกและข้อเพิ่มขึ้น
จาก 400 ล้านคนเป็น 570 ล้านคน โดยเฉพาะ “โรคข้อเสื่อม” จากสถิติประเทศไทย ปี พ.ศ. 2563 มีผู้ป่วยโรคนี้
มากกว่า 6 ล้านคน โดยข้อที่เสื่อมมากที่สุด คือ ข้อเข่า ซึ่งข้อเข่าเสื่อมสภาพ ทำให้เกิดอาการข้อเข่าอักเสบ
หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม ในปัจจุบันพบว่า โรคข้อเข่าเสื่อมยังพบในกลุ่มอายุน้อย
โดยเฉพาะในช่วงวัยกลางคน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุอาจจะไม่ได้เป็นเรื่องของอายุ
แต่เป็นเรื่องของการมีน้ำหนักตัวเกิน และการใช้ข้อเข่ามากเกินไปหรือใช้ผิดท่าผิดวิธี จนทำให้เกิดปัญหาข้อเข่า
เสื่อมเร็วขึ้นทำให้มีอาการปวดขัดที่ข้อเข่า ไปจนถึงมีความเจ็บปวดอย่างรุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
และเหมาะสม อาจจะก่อให้เกิดความพิการ เช่น ข้อเข่าโก่งจนนําไปสู่การทรงตัวไม่ได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องมีชีวิต
อยู่อย่างไร้สมรรถภาพในการประกอบอาชีพ หรือการใช้ชีวิตประจำวัน การช่วยชะลอการเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อม
เกี่ยวกับพฤติกรรม เช่น การงดนั่งกับพื้น การฝึกกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า การฝึกโยคะ การรำไท้เก๊ก เป็นต้น
การให้ยากลุ่มสารธรรมชาติที่มีองค์ประกอบของกระดูกอ่อนการฉีดสารเข้าข้อ การส่องกล้องล้างข้อเข่าไปจนถึง
การผ่าตัดจัดกระดูกและการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม กระบวนการรักษาเหล่านี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เช่น
การเปลี่ยนข้อเข่าเทียมปฐมภูมิในโรงพยาบาลรัฐมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1 แสนบาทต่อราย
ปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อมมีความลำบากในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ซึ่งอาการ
และอาการแสดงดังกล่าวจะมากน้อยแตกต่างกันไป ความรุนแรงของโรคที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบทางด้าน
ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ด้านร่างกายผู้สูงอายุมีอาการปวดเข่า ทำให้มีการใช้ยาลดปวด ยาต้าน
การอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์ การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ เพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ยาต่าง ๆ ไม่สามารถ
หยุดยั้งการทำลายของข้อได้ เมื่อมีการทำลายของข้อในระยะท้าย ๆ ผู้สูงอายุจะปวดจนนอนไม่หลับ ทำให้
ผู้สูงอายุไม่สามารถดูแลตนเองหรือเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม บทบาททางสังคมลดลง ต้องพึ่งพาผู้อื่น
จากลำดับความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยในฐานะแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นหนึ่ง
ในทีมสุขภาพที่มีบทบาท สำคัญในด้านการเสริมสร้างสุขภาพ ส่งเสริม และป้องกันโรค ได้ตระหนัก
ถึงความสำคัญ และเล็งเห็นถึงปัญหาของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม จึงได้นำสมุนไพรเข้ามามีส่วนช่วยในการส่งเสริม
ดูแลสุขภาพ เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพ
สมุนไพรถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ เพื่อรักษาโรคหรืออาการที่เป็นปัญหาได้รับความนิยมกัน
อย่างแพร่หลาย ทั้งในด้านสุขภาพ และด้านความสวยงาม เป็นการใช้สมุนไพรเข้ามาบำบัด อีกทั้งยังจัดได้ว่า
เป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่า เข้ามามีส่วนช่วยในการส่งเสริมดูแลสุขภาพ ที่มีความเสี่ยงต่อการนำมาใช้น้อย
ประหยัด และยังเป็นวิธีที่สามารถทำได้ด้วยตนเองจึงก่อเกิดความเชื่อมั่นในผลที่จะได้รับ และเกิดความพึงพอใจ
ในระดับสูง (โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, 2535) การพอกเข่าซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวดข้อเข่าได้ ทางผู้วิจัย
จึงสนใจที่จะศึกษาวิธีการลดความเจ็บปวดของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีการพอกยาสมุนไพรด้วยสารสกัด
เมล็ดลำใย เนื่องจากสูตรตำรับยาพอกเข่ามีหลายตำหรับและมีส่วนผสมของสมุนไพรหลายชนิด สมุนไพรบางชนิด