Page 508 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 508
L57
การศึกษาผลของตำรับยาสุมสมุนไพรในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง
โรงพยาบาลกุดชุม อ.กุดชุม จ.ยโสธร
นางอัมริดตา อินทนนท์ และนางมณฑิรา วงศ์จันทร์
โรงพยาบาลกุดชุม จังหวัดยโสธร
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญระดับโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากร
ทั่วโลก ในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ปัจจุบันเป็นหนึ่งในสามสาเหตุการเสียชีวิตทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตด้วย
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมากกว่า 3 ล้านคนในปี 2555 คิดเป็น 6% ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก โรคปอดอุดกั้น
เรื้อรังถือเป็นความท้าทายด้านสาธารณสุขที่สำคัญ หลายคนต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคนี้มานานหลายปี
และเสียชีวิตก่อนกำหนดหรือมีโรคแทรกซ้อน ทั่วโลกคาดว่าจะมีภาวะ COPD เพิ่มขึ้นในทศวรรษต่อๆ ไป
เนื่องจากการสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยง และการสูงวัยของประชากรอย่างต่อเนื่อง (Global Initiative for Chronic
Obstructive Lung Disease,2024) ในโรคหอบหืด (Asthma) เป็นโรคความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
ชนิดเรื้อรังอันดับที่ 25 ของโลก เป็นปัญหาสาธารณสุขของทั่วโลก (World Health Organization, 2009)
โดยพบว่าอัตราผู้ป่วยโรคหอบหืดทั่วโลกมีประมาณ 300 ล้านคนมีผู้เสียชีวิตประมาณปีละ 255,000 คน
และได้ประมาณการณ์ว่าในพ.ศ.2568 จะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 400 ล้านคนซึ่งสามารถทําให้เกิดอันตราย
รุนแรงถึงชีวิต หากได้รับการดูแลหรือรักษาที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือเหมาะสม (ธนาพล มณฑาทอง,2561)
จากข้อมูลทะเบียนการตายของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
พบอัตราตายก่อนวัยอันควร (อายุ 30-69 ปี) ของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพิ่มขึ้นจาก 4.5 ต่อประชากรแสนคน
ในปีพ.ศ. 2558 เป็น 4.7 ต่อประซากรแสนคน ในปี พ.ศ. 2562 เป็นสาเหตุสำคัญของการนอนโรงพยาบาล
ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่สูง และทำให้คุณภาทชีวิตของผู้ป่วยด้อย (กรมควบคุมโรค,2563)
ในส่วนของโรคหอบหืดและภาวะหอบหืดกำเริบรุนแรง มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคหอบหืด 1,875 ราย อัตราตาย
2.83 ต่อประชากรแสนคนและอัตราป่วยตายร้อยละ 0.38 โดยมารับการรักษาภาวะหอบหืดกำเริบรุนแรงที่โรงพยาบาล
จำนวน 59,822 ครั้งคิดเป็น 1.65 ครั้งต่อคน ซึ่งพบว่าจำนวนครั้งต่อคนเพิ่มขึ้น (กรมควบคุมโรค,2563) และจากข้อมูล
HDC สสจ.ยโสธร พบว่าโรงพยาบาลกุดชุม มีอัตราการป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มมากขึ้น
ในปี 2564-2566 (ร้อยละ 2.22, 2.33 และ 2.37)
โรงพยาบาลกุดชุมมีการให้บริการดูแลผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ซึ่งในทุกเดือนจะมีผู้ป่วย
รายใหม่เพิ่มขึ้น ต้องใช้ยาพ่นทั้งกลางวันและกลางคืน บางรายหอบรุนแรงต้องนอนโรงพยาบาลทำให้การใช้ชีวิต
ลำบาก และสร้างความวิตกกังวลใจให้กับผู้ป่วย บางรายต้องการให้อาการดีขึ้นไปซื้อยาสมุนไพรเอง โดยไม่รู้
ผลที่ตามมา ในทางการแพทย์แผนไทยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคหอบหืด เรียกว่า“ปับผาสังพิการ” ซึ่งเกิด
จากหลัก 3 ประการคือ 1) เกิดจากปัจจุบันกรรม คือ ได้รับควันบุหรี่หรือสูบบุหรี่ 2) เกิดจากอุปปาติกะ (เกิดขึ้น
เอง) มีอาการร้อนในอก กระหายน้ำ มีอาการเหนื่อยหอบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีเสมหะ มีไอทำให้ร่างกายหายใจ
หอบเหนื่อยมากขึ้น (ศรินทร์รัตน์,2021) แพทย์แผนไทยโรงพยาบาลกุดชุมให้การดูแลผู้ป่วยโรคระบบเดินหายใจ
เรื้อรังโดยการสุมยาสมุนไพรที่ตึกผู้ป่วยในมาเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี เพื่อให้ผู้ป่วยหลังออกจากโรงพยาบาล
สามารถนำความรู้ในการสุมยาสมุนไพรกลับไปดูแลที่บ้านได้ และเพื่อให้เข้าถึงผู้ป่วยโรคหอบหืดและปอดอุดกั้น
เรื้อรัง พร้อมสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น และให้สอดคล้อง
ตามวิสัยทัศน์โรงพยาบาลกุดชุมในการดูแลแบบผสมผสาน ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาผลของตำรับยาสุมสมุนไพร