Page 541 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 541

N4

                  จำนวนยาที่ครอบครอง 5 ระดับ) จำนวน 3 ครั้ง ในเดือนที่ 0, 3 และ 6 สำหรับคะแนนความรอบรู้ด้านการ

                  ใช้ยาอย่างสมเหตุผลของผู้ประกอบการวัดที่เดือนที่ 0 และ 6
                         การวิเคราะห์ข้อมูล : ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม และสรุปเป็นแนวทางการเฝ้าระวัง
                  การจำหน่ายยาในร้านชำ และข้อตกลงร่วมของตำบล การประเมินผลระบบการเฝ้าระวังฯ การเปรียบเทียบ

                  สัดส่วนรายการยาที่จำหน่าย และคะแนนความอันตรายของยาที่จำหน่ายในร้านชำที่มีความเสี่ยงเกิดอันตราย
                  ต่อประชาชน จากการติดตามร้านชำ 3 ครั้ง โดยใช้สถิติ Mixed effect model ที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05
                  การวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ของผู้ประกอบการก่อนและ
                  หลังดำเนินการด้วยสถิติ Paired t-test ที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05

                  ผลการศึกษา

                         ข้อตกลงหรือข้อบัญญัติของชุมชน จากการประชุมร่วมกันของทุกภาคส่วนสรุปเป็นข้อตกลงได้ดังนี้
                  1) ชุมชนต้องได้รับความรู้เรื่องการจำหน่ายยาในร้านชำจากส่วนกลางเป็นประจำทุกปี 2) การตรวจเฝ้าระวังทำ
                  เป็นประจำทุก 3 เดือนโดย อสม., ทุก 1 ปีโดย รพ.สต. ร่วมกับเทศบาลและทุก 1 ปีโดยเภสัชกร/ สสอ.
                  3) เทศบาลตำบลรังกาใหญ่ประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลเกี่ยวกับการห้ามขายยาผ่านหอกระจายข่าวของตำบล

                  สัปดาห์ละครั้ง 4) กำนันและผู้ใหญ่บ้านประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลเกี่ยวกับการห้ามขายยาผ่านหอกระจายข่าว
                  ของชุมชนสัปดาห์ละครั้ง 5) ทุกคนในชุมชนมีส่วนในการเฝ้าระวังการจำหน่ายยาห้ามจำหน่ายหากพบปัญหาให้
                  ถ่ายภาพและแจ้งต่อกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ 6) การห้ามจำหน่ายยาในชุมชนถูกกำหนดให้เป็นวาระการ
                  ประชุมของหมู่บ้านในทุกเดือน 7) หากพบการจำหน่ายยาในร้านชำ ให้แจ้งแก่ รพ.สต. และองค์การปกครอง

                  ส่วนท้องถิ่นลงตรวจสอบ หากพบครั้งที่ 1 ใช้วิธีการตักเตือน และจะมีการตรวจสอบซ้ำครั้งที่ 2 ห่างจากครั้ง
                  แรก 2 เดือน หากยังพบจะตักเตือนซ้ำ และอีก 2 เดือนหากตรวจพบเจอครั้งที่ 3 จะดำเนินการตามกฎหมาย
                  8) อายุของใบรับรองร้านชำคุณภาพ มีอายุ 1 ปีและจะได้รับการรับรองอีกครั้งเมื่อมีการตรวจในครั้งต่อไป
                         การประเมินผลระบบการเฝ้าระวังฯ พบว่า จำนวนรายการยาที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านชำ

                  (ยาสามัญประจำบ้าน) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) และจำนวนรายการยาที่ไม่สามารถ
                  จำหน่ายได้ในร้านชำ (ยาบรรจุเสร็จ, ยาอันตราย) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) เมื่อพิจารณา
                  คะแนนความอันตรายของยาที่จำหน่ายในร้านชำที่มีความเสี่ยงเกิดอันตรายต่อประชาชน พบว่า คะแนนลดลง

                  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตั้งแต่ เดือนที่ 3 (P < 0.001) ทั้งในกลุ่มยาฆ่าเชื้อ,  กลุ่มยาโรคกระดูกและข้อ,
                  กลุ่มยาต่อระบบทางเดินหายใจ, กลุ่มยาต่อระบบบทางเดินอาหาร, กลุ่มยาโรคผิวหนัง, กลุ่มยาทางสูติ-นรีเวชกรรม
                  และ ยาสมุนไพร ในส่วนคะแนนความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของผู้ประกอบการ พบว่า
                  หลังดำเนินการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) ทั้ง 6 มิติ
   536   537   538   539   540   541   542   543   544   545   546