Page 544 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 544

N8

                  วิธีการศึกษา

                         การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ชนิด One group
                  pretest-posttest design ดำเนินการอบรมและเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึงธันวาคม พ.ศ.
                  2566

                         กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกแบบ Purposive Sampling จาก อสม. ในเขตพื้นที่การดูแลของโรงพยาบาล
                  ส่งเสริมสุขภาพตำบล ชัยชนะ เป็นจำนวน 57 คน
                          1) ขั้นแรกเป็นการประเมินความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล(ก่อนอบรม) เพื่อให้เข้าใจพื้นฐาน
                  ของผู้อบรมเรื่องความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุ

                         2) ขั้นจัดการอบรม ให้ผู้เข้าอบรมแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ทีมผู้วิจัยดำเนินกิจกรรมดังนี้
                            2.1 กิจกรรมที่ 1 ยาในชุมชน การบอกชื่อยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่รู้จัก ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
                  บอกชื่อยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นที่มีขายในชุมชน เช่น ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นต้น ทั้งที่
                  เคยซื้อและไม่เคยซื้อ รวมทั้งบอกรายละเอียด เช่น สรรพคุณ วิธีใช้ เป็นต้น โดยไม่รวมยาที่ได้จากโรงพยาบาล

                            2.2 กิจกรรมที่ 2 การเข้าถึงข้อมูล วิทยากรแนะนำการใช้ app ของ อย., Website ของ อย. พร้อม
                  ทดลองตัวอย่าง หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมกิจกรรมแบ่งกลุ่ม 3 คน ช่วยกันค้นหาข้อมูลยาและผลิตภัณฑ์ที่มีขาย
                  ในชุมชน (เพิ่มเติมได้) จาก app ของ อย., Website ของ อย.
                            2.3 กิจกรรมที่ 3 การตรวจสอบข้อมูล ผู้เข้าร่วมกิจกรรม กลุ่ม 3 คน กลุ่มเดิม ช่วยกันตรวจสอบ

                  ความถูกต้องของข้อมูลยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีขายในชุมชน
                            2.4 กิจกรรมที่ 4 การนำเสนอกิจกรรมที่ 1 – 3
                            2.5 กิจกรรมที่ 5 การตรวจสอบโฆษณา ผู้เข้าร่วมกิจกรรม กลุ่ม 3 คน กลุ่มเดิม ช่วยกันตรวจสอบ

                  ความถูกต้องของโฆษณายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพทางวิทยุ และทางสื่อออนไลน์
                            2.6 กิจกรรมที่ 6 ใบงานกิจกรรม 6 การนำไปใช้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม กลุ่ม 3 คน กลุ่มเดิม ช่วยกัน
                  บอกว่า สิ่งที่ได้จากกิจกรรมในวันนี้ จะ “นำไปใช้” ได้อย่างไรบ้าง
                            2.7 การสะท้อนคิด เป็นขั้นตอนสุดท้าย เป็นการให้ผู้อบรมได้ทบทวน ไตร่ตรอง วิเคราะห์การ
                  ทำงานและความสามารถของตนเอง เพื่อให้ทราบถึงความรู้ของตนและเปรียบเทียบกับวิทยากรหรือเพื่อนๆ

                  ในกลุ่มย่อย โดย อสม. จะระบุจุดที่ดีหรือจุดที่ควรพัฒนาและมีการมอบหมายให้ อสม
                            2.8 ร่วมกันวางแผนการดำเนินงานด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเบื้องต้นไปใช้ในงานตาม
                  สถานการณ์จริงในอนาคตแล้วนำมาสรุปภาพรวมในการอบรมครั้งต่อไป เพื่อที่จะทำให้เกิดความชัดเจนความ

                  เข้าใจเรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผลมากขึ้น
                         3) หลังเสร็จสิ้นการทดลอง ประเมินความรอบรู้ในกลุ่มตัวอย่าง (หลังอบรม)
                  การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ


                            ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป วิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ
                            ส่วนที่ 2 ข้อมูลสุขภาพ วิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ  หาความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัย
                  สุขภาพ กับความรอบรู้ด้านการใช้ยาสมเหตุผลโดยใช้สถิติ chi-square test
                            ส่วนที่ 3 เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลก่อนและหลังโปรแกรม
                  ให้ความรู้ โดยสถิติทดสอบที (paired t-test)
   539   540   541   542   543   544   545   546   547   548   549