Page 545 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 545
N9
ผลการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลที่ครบตาม
กระบวนการ และทำแบบทดสอบก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯครบถ้วน จำนวน 52 ราย ส่วนมากเป็น
เพศหญิงร้อยละ 33 อายุส่วนใหญ่ 41 – 50 ปี ร้อยละ 44.23 การศึกษาระดับม. 4 - ม. 6 ร้อยละ 69.23
เคยตรวจโรคแต่ไม่พบโรคร้อยละ 55.77 อาชีพส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ร้อยละ 86.54 สถานภาพส่วนใหญ่เป็น
อสม. ร้อยละ 84.62
การตอบแบบสอบถามความรอบรู้ด้านการใช้ยาในชุมชน (33 คะแนน) พบว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ
มีคะแนนความรอบรู้ด้านการใช้ยาในชุมชนเฉลี่ย 21.74±4.98 คะแนน ซึ่งหมายถึงมีความรอบรู้ด้านการใช้ยา
ในชุมชนระดับพอใช้ (คะแนนรวมเท่ากับร้อยละ 60–69) 20 –23 คะแนน และเมื่อตอบแบบสอบถามหลัง
ได้รับโปรแกรมพบว่าได้คะแนนเฉลี่ย 29.43±1.58 คะแนน ซึ่งหมายถึงมีความรอบรู้ด้านการใช้ยาในชุมชน
ระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังได้รับโปรแกรมพบว่าคะแนนเฉลี่ยมีความแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p <0.001)
อภิปรายผล
ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ในการใช้ยาในชุมชนอย่างสมเหตุผล พบว่ากลุ่มตัวอย่าง
มีค่าคะแนนเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับพอใช้ (คะแนนรวมเท่ากับร้อยละ 60–69) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย
ของกฤษฎากร เจริญสุข (2565) ที่มีคะแนนระดับความรอบรู้เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 66 (ระดับพอใช้) (กฤษฎากร
เจริญสุข,2565)
ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ในการใช้ยาในชุมชนอย่างสมเหตุผล ในกลุ่ม อสม. พบว่า
คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเสริมสร้างความรอบรู้มีคะแนนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต ( p < 0.001)
ค่าคะแนนความรอบรู้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการศึกษาดังนี้ การศึกษาพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรู้
พฤติกรรมและ สมรรถนะการใช้ยาที่ถูกต้องในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ
หมู่บ้าน จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สูงกว่ากลุ่มควบคุมภายหลังได้รับโปรแกรม
ส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพการใช้ยาที่ถูกต้อง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ(p<.05) (ธัญญาสิริ
ธันยสวัสดิ์ วราทิพย์ แก่นการ และ รสวลีย์ อักษรวงค์, 2565) และสอดคล้องกับการศึกษาผลของโปรแกรม
พัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลเมือง
สิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ที่พบว่าภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพ
โดยรวมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) (กฤษฎากร เจริญสุข,2564)
โดยก่อนได้รับการเสริมสร้างความรอบรู้โดยการออกแบบกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมนั้นมีคะแนน
ความรอบรู้เฉลี่ยระดับพอใช้ เมื่อได้รับการเสริมสร้างความรอบรู้กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรอบรู้เฉลี่ยอยู่ใน
ระดับดีมาก เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ทีมวิจัยสร้างขึ้น มีการอบรมความรู้ การฝึกปฏิบัติ
การเรียนรู้จากประสบการณ์ สถานการณ์จำลองเพื่อเลือกตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ดังนั้นเมื่อได้รับ
โปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาทำให้ อสม. เกิดการรับรู้ในความสามารถของตนเอง อีกทั้งเป็น
การได้รับการสนับสนุน การสร้างกำลังใจในการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและและกัน จะทำให้มีการสร้างพลังอย่าง
ต่อเนื่อง ดังนั้น โปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ในด้านการใช้ยาในชุมชนเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ซึ่งประกอบด้วย 6 กิจกรรม ที่มีการอบรมความรู้ การฝึกปฏิบัติ การเรียนรู้จากประสบการณ์สถานการณ์จำลอง
เพื่อเลือกตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่งผลให้ความรอบรู้ด้านการใช้ยาในชุมชนสูงขึ้นจากระดับพอใช้เป็น
ระดับมาก