Page 557 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 557
N21
Improve SAFTY in DTG-transition
(การเพิ่มความปลอดภัย ในช่วงเปลี่ยนสูตรยาโดลูเทกราเวียร์ (Dolutegravir (DTG))
เภสัชกรนันทวัฒน์ โททุมพล
โรงพยาบาลบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี เขตสุขภาพที่ 5
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
คลินิกยาต้านไวรัสเอชไอวี มีผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่มารับบริการจำนวน 268 คน มีผู้ป่วยจำนวน
240 คน ประมาณร้อยละ 89.00 ที่ต้องเปลี่ยนมาใช้สูตรยาที่มีโดลูเทกราเวียร์เป็นส่วนประกอบ จากการ
ทบทวนข้อมูลตั้งแต่ปี 2566 หลังจากเริ่มมีการเปลี่ยนสูตรยาพบว่ามีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นค่อนข้างมาก
ซึ่งเกิดจากบุคคลากรในโรงพยาบาลบ่อพลอยไม่รู้จักและไม่คุ้นเคยกับยาทำให้เมื่อต้องเปลี่ยนสูตรยาให้กับ
ผู้ป่วยการบริการจะใช้ระยะเวลานาน มีการบันทึกข้อมูลการรักษาที่ไม่เป็นระบบและพบมีการสั่งและจ่ายคู่ยา
ที่เกิดอันตรกริยาที่อันตรายให้แก่ผู้ป่วย คือ ยาโดลูเทกราเวียร์ ร่วมกับ ยาเมทฟอร์มินที่มีขนาดเกิน
1,000 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดภาวะ Metformin-Associated Lactic Acidosis (MALA)
ที่เป็นภาวะฉุกเฉินทางอายุรศาสตร์ที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 30 - 50 มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเครื่องมือ
เพื่อใช้แก้ไขและป้องกันความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น
วัตถุประสงค์การศึกษา
- เพื่อให้การเปลี่ยนสูตรยามีการบันทึกอย่างเป็นระบบ
- เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเอชไอวี ที่ได้รับการเปลี่ยนสูตรยาได้รับคู่ยาที่เกิดอันตรกริยาที่อันตราย
- เพื่อลดระยะเวลารอรับบริการคลินิกยาต้านไวรัสเอชไอวี
วิธีการศึกษา
1. การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาในรูปแบบแผนผังความคิดและคิดค้นแนวทางแก้ปัญหา
2. จัดทำสื่อให้ความรู้เรื่อง “Update New Drug Dolutegravir” เพื่อใช้เป็นสื่อในการสอนและ
ให้ความรู้แก่บุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับคลินิกยาต้านไวรัสเอชไอวี
3. จัดทำ “แบบฟอร์มติดตามการเปลี่ยนสูตรยา” เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบันทึกประวัติการรักษา,
ใช้สื่อสารระหว่างสหวิชาชีพและช่วยในการพิจารณาเปลี่ยนสูตรยา
4. ปรับปรุงระบบการตรวจสอบอันตรกริยาระหว่างยาในระบบ HosXP ให้มีการตรวจสอบทั้งใน visit
ล่าสุดและ visit ย้อนหลังทั้งหมดของผู้ป่วยที่มารับบริการ เพื่อแจ้งเตือนแพทย์ พยาบาลและเภสัชกรเมื่อมี
การสั่งยาที่เกิดอันตรกริยาระหว่างยา
5. ปรับปรุงระบบการป้องกันการจ่ายยาที่มีอันตรกริยาระหว่างยาในห้องยา โดยเพิ่มให้มีสติกเกอร์
แจ้งเตือนออกมาคู่กับสติกเกอร์ยาและออกแบบระบบให้มีการตรวจสอบซ้ำทุกขั้นตอนในห้องยาตั้งแต่ ขั้นตอน
การคัดกรองยา การจัดยา การตรวจสอบยาและการจ่ายยา