Page 579 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 579
N43
ตารางที่ 2 ลักษณะตู้ยา
ลักษณะตู้ยา จำนวน ร้อยละ
1. ใช้ถุงพลาสติกหรือกระเป๋าในการเก็บยา 4 25.00
2. ไม่มีตู้ยาหรือชั้นเฉพาะ จัดเก็บยาในชั้นสิ่งของอื่นๆ 7 43.75
3. มีตู้ยาแยกเฉพาะเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน 5 31.25
3. การจัดการด้านยาในวัด
กรอบรายการยา วัดทุกแห่งยังไม่มีกรอบรายการยาในวัดที่ชัดเจน ยาที่มีใช้อยู่ในวัดมีความหลากหลาย
แตกต่างกันไปในแต่ละแห่งรายการยาที่มีใช้ในวัดได้จากญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาในการนำมาถวาย โดยมีจำนวน
รายการยาต่อแห่งประมาณ 10 – 20 รายการซึ่งสามารถแบ่งตามกลุ่มอาการได้ 5 กลุ่ม คือ กลุ่มยาลดไข้
แก้ปวด กลุ่มยาแก้ปวดจุกแน่นท้อง กลุ่มยาแก้ท้องเสีย กลุ่มยาแก้แพ้แก้คัน และกลุ่มยาล้างแผล
การจัดหายา แนวทางการจัดหายาและเวชภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในวัดได้มาจากหลายแหล่ง เพื่อให้มี
การจัดการระบบให้ดีขึ้นจึงให้การสนับสนุนจาก รพ.สต. ให้มีการเข้ามาตรวจสอบยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ที่สามารถใช้ได้ปลอดภัยและพบว่ามียาที่ญาติโยมนำมาถวายส่วนใหญ่มาจากร้านขายยาแผนปัจจุบัน
ร้านสังฆภัณฑ์
การจัดเก็บยา ส่วนใหญ่เก็บยาใช้ภายนอก และยารับประทานรวมอยู่ในที่เดียวกัน บางแห่งมีการ
เก็บยารวมกันไว้ในถุงพลาสติก หรือ ตะกร้า จากการสำรวจข้อมูลพบว่ามีสถานศึกษาเพียง 3 แห่ง เท่านั้น
ที่มีตู้เก็บยาที่เหมาะสม มีป้ายแสดงหมวดหมู่ของยาที่ชัดเจน และพบว่าวัดทุกแห่งยังไม่มีระบบควบคุมอุณหภูมิ
และความชื้นของสถานที่จัดเก็บยาที่เหมาะสม รวมถึงยังไม่มีระบบการตรวจสอบวันหมดอายุของยา ทำให้พบ
ยาที่หมดอายุและยาที่เสื่อมสภาพอยู่ในบริเวณจัดเก็บยาในหลายวัด
กรณีที่มีการเจ็บป่วยที่รุนแรงเกินกว่าที่จะสามารถให้การดูแลรักษาเบื้องต้นได้ จะต้องไปยังหน่วย
บริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้ เช่น รพช. หรือ รพ.สต. ในพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นการนำส่งโดยรถยนต์ส่วนตัวของวัด
ตารางที่ 3 รายการปัญหา
รายการปัญหา ก่อนดำเนินงาน หลังดำเนินงาน
วัด ร้อยละ วัด ร้อยละ
ไม่มีตู้ยา หรือชั้นเก็บยา 11 68.75 0 0.0
ไม่มีกรอบรายการยาของใช้ในวัดที่ชัดเจน 16 100.0 0 0.0
พบยาหมดอายุ หรือยาเสื่อมสภาพ 16 100.0 5 31.25
พบยาปฏิชีวนะหรือยาอันตราย 16 100.0 6 37.50
พบยาไม่มีฉลากยา 16 100.0 5 31.25