Page 584 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 584
N48
สถานการณ์การดื้อยาคาร์บาพีเนมของเชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซาในโรงพยาบาลศูนย์
นางเยาวเรศ ปัญจกุล
โรงพยายาลตรัง เขตสุขภาพที่ 12
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
เชื้อ ซูโดโมแนส แอรูจิโนซา เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบชนิดแท่ง และไม่หมักย่อยน้ำตาล ซึ่งสามารถ
พบได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไปและมีชีวิตในที่ชื้นสูง พบในสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นสาเหตุการติดเชื้อใน
โรงพยาบาลอันดับต้นๆ เชื้อนี้เป็นเชื้อฉวยโอกาสในการก่อโรคผู้ที่พักรักษาตัวนานๆ การสอดใส่อุปกรณ์เพื่อการ
รักษา พบในสิ่งส่งตรวจหลากหลายชนิด เช่น เสมหะ เลือด ปัสสาวะ หนองและน้ำเจาะจากส่วนต่างๆของ
ร่างกาย เป็นต้น เชื้อสามารถสร้างกลไกการดื้อยาได้หลายกลไกจึงดื้อต่อยาหลายขนาน เช่น ยากลุ่มคาร์บาพี
เนม พิเพอราซิลลิน/ทาโซแบ็กแทม ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลสูง มีการนำยา
โคลิสตินรักษาร่วมกับยาอื่นๆ และเริ่มพบการดื้อยาโคลิสตินตามมา
วัตถุประสงค์การศึกษา: เพื่อศึกษาสถานการณ์การดื้อยาคาร์บาพีเนมของเชื้อ ซูโดโมแนส แอรูจิโนซา รวมทั้ง
ยาพิเพอราซิลลิน/ทาโซแบ็กแทม อะมิคาซิน เจนตามัยซิน เซฟตาซิดิม และยาซิโปรฟลอกซาซิน และยาโคลิส
ติน ในสิ่งส่งตรวจทางคลินิก ส่งตรวจเพาะเลี้ยงเชื้อแอโรบิคแบคทีเรียของโรงพยาบาลตรังและโรงพยาบาล
ชุมชนในจังหวัดตรัง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชื้อ ซูโดโมแนส แอรูจิโนซา และรูปแบบความ
ไวต่อสารต้านจุลชีพ จากระบบสารสนเทศห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก โปรแกรม Mlab ข้อมูลย้อนหลัง
ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ด้วยการเพาะเชื้อแอโรบิคแบคทีเรียด้วย
วิธีทางชีวเคมี และทดสอบความไวต่อสารต้านจุลชีพ ด้วยวิธี modified Kirby-Bauer ยกเว้นปีพ.ศ.2566
ใช้เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ (Sensititre Aris 2x)จากสิ่งส่งตรวจ เสมหะ เลือด ปัสสาวะ หนองและน้ำเจาะจาก
ส่วนต่างๆของร่างกายและอื่นๆ โดยไม่ซ้ำผู้ป่วยและสิ่งส่งตรวจ เชื้อทั้งหมด จำนวน 3059 ตัวอย่าง ปี
พ.ศ. 2562 (n=535) พ.ศ. 2563 (n=551) พ.ศ. 2564 (619) พ.ศ. 2565 (n=727) และ พ.ศ. 2566 (n=627)
ใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ โดยโปรแกรม Microsoft Excel 2013
ผลการศึกษา
พบเชื้อ ซูโดโมแนส แอรูจิโนซา จากเสมหะ ปัสสาวะ เลือด และ อื่นๆ ตามลำดับ เสมหะพบมากที่สุด
พ.ศ. 2566 ร้อยละ 52 (325/627) รองลงมาพ.ศ. 2565 ร้อยละ 50 (364/727) พ.ศ. 2562 และพ.ศ. 2564
พบเท่ากัน ร้อยละ 47 (252/535) (290/619) และน้อยที่สุดพ.ศ. 2563 ร้อยละ43 (236/551) ปัสสาวะพบ
ในอัตราที่ใกล้เคียงกันทุกปี 18% (95/535) ร้อยละ15 (81/551) 17 (101/619) 16 (125/727) และ18
(114/627) ตามลำดับ ในเลือด พ.ศ.2562 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2564 และพ.ศ. 2566 เท่ากัน ร้อยละ7 (35/535)
(40/551) (44/619) และ (47/627) และ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 8 (55/727) พบกระจายตัวตามหอผู้ป่วยอายุร
กรรมมากที่สุดปีพ.ศ.2562 ร้อยละ32 (170/535) พบรองลงมา พ.ศ.2563 ร้อยละ 28 (155/551) ปี พ.ศ.
2566 ร้อยละ 26 (160/627) และเท่ากันพ.ศ.25654 พ.ศ. พ.ศ.2565 ร้อยละ 25 (153/619) (181/727)
ศัลยกรรมพบจากมากไปน้อยตามลำดับปีพ.ศ.2562 ร้อยละ 20 (109/535) พบรองลงมา พ.ศ.2563 ร้อยละ
17 (95/551) พ.ศ.25654 ร้อยละ16 (96/619) และพ.ศ.2565 พ.ศ. 2566 พบเท่ากัน ร้อยละ13 (93/727)
(83/627) หอผู้ป่วยหนักพบจากมากไปน้อยตามลำดับ พ.ศ. 2566 พ.ศ.2565 พ.ศ.2564 พ.ศ.2563 และพ.ศ.