Page 587 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 587

O1


                               กระเป๋าฝึกทักษะการใช้มือในใช้ชีวิตประจำวัน (Multifunction bag)


                                                                                        นางสาวธิดารัตน์ ธรรมตา
                                                                               โรงพยาบาลดอยเต่า เขตสุขภาพที่ 1

                                                                           ประเภทผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         เนื่องจากปัจจุบัน ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดในการดูแลระยะกลาง (IMC) มีจำนวน
                  เพิ่มขึ้นทุกปี จากสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง อำเภอดอยเต่า ปีงบประมาณ 2564 มีจำนวน 3 ราย

                  ปีงบประมาณ 2565 มีจำนวน 18 ราย และปีงบประมาณ 2566 มีจำนวน 44 ราย (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม
                  2566) เมื่อจำแนกรายโรค พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากที่สุด จำนวน 24 ราย รองลงมาคือ
                  ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก จำนวน 16 ราย ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บไขสันหลัง 3 ราย และผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทาง

                  สมอง 1 ราย (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2566) จากสถานการณ์ดังกล่าว ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรือได้รับ
                  บาดเจ็บทางสมองส่วนใหญ่ มักมีปัญหาในการใช้มือในการทำกิจวัตรประจำวัน โดยงานกิจกรรมบำบัดมี
                  บทบาทหน้าที่ส่งเสริมฝึกทักษะการใช้มือในการทำกิจวัตรประจำวันหรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถ
                  ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด ลดการพึ่งพาญาติหรือผู้ดูแล แต่เนื่องจากพื้นที่ให้บริการมีจำกัด และอุปกรณ์ฝึกไม่
                  เพียงพอต่อการดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟู งานกิจกรรมบำบัดจึงคิดค้นนวัตกรรมขึ้น เพื่อให้ผู้บำบัดผู้บำบัดสามารถ

                  นำไปใช้ฝึกผู้ป่วยทั้งในและนอกโรงพยาบาล สะดวกต่อการพกพา ประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ และหาได้ง่าย
                  สามารถเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนได้หลากหลายรูปแบบ และเลือกใช้ได้ตามศักยภาพของผู้ป่วย รวมถึงผู้ป่วย
                  สามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยลดการพึ่งพาญาติหรือผู้ดูแล และเป็นต้นแบบสำหรับให้ผู้ป่วยฝึกได้เองที่บ้าน

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อใช้สำหรับฝึกผู้ป่วยที่มีปัญหาการใช้มือในการทำกิจกรรมต่างๆ ในกิจวัตรประจำวัน ให้ช่วยเหลือ

                  ตนเองให้ได้มากที่สุด ผู้บำบัดสามารถนำไปใช้ฝึกผู้ป่วยทั้งในและนอกโรงพยาบาล สะดวกต่อการพกพา
                  สามารถเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนได้หลากหลายรูปแบบ และเลือกใช้ได้ตามศักยภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
                  (Stroke) และผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทางสมอง (TBI)

                  วิธีการศึกษา
                         1. ขั้นตอนการทำสิ่งประดิษฐ์ :

                  การประดิษฐ์กระเป๋า Multifunction ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ดังนี้
                                1) แนวคิดในการออกแบบกระเป๋า Multifunction
                                        - ออกแบบอุปกรณ์ ให้สอดคล้องกับกิจกรรมพื้นฐานในชีวิตประจำวัน เป้าหมายใน

                  การใช้งาน เพื่อฝึกผู้ป่วยที่มีปัญหาการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน โดยเฉพาะปัญหาการใช้มือ
                  ในการทำกิจกรรมต่างๆ
                                        - รูปแบบสะดวกใช้งานง่าย สามารถนำไปฝึกผู้ป่วยทั้งในและนอกโรงพยาบาล เช่น
                  หอผู้ป่วยใน การลงชุมชนเยี่ยมบ้าน และศูนย์ฟื้นฟู
                                        - สามารถล้างทำความสะอาดได้

                                        - ใช้วัสดุเหลือใช้หรือหาได้ง่ายในการประดิษฐ์ ต้นทุนต่ำ
                                        - อุปกรณ์สามารถปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมรูปแบบได้ เพื่อให้เหมาะกับศักยภาพของ
                  ผู้ป่วยแต่ละราย

                                        - เป็นต้นแบบสำหรับให้ผู้ป่วยฝึกได้เองที่บ้าน
   582   583   584   585   586   587   588   589   590   591   592