Page 580 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 580
N44
หัวข้อ ก่อนการพัฒนา หลังการพัฒนา
ตู้ยา บริเวณที่เก็บอากาศไม่ถ่ายเท มีตู้ยาและสถานที่ในลักษณะห้องหรือมุมเก็บตู้ยาในการ
อุณหภูมิสูง รักษาพยาบาลในวัด เพื่อให้บริการกับพระ แม่ชี เณร
ประชาชนในชุมชนที่เจ็บป่วย มียาและอุปกรณ์ที่จำเป็น
จะต้องมีไว้เพื่อใช้ในการรักษาอาการเจ็บป่วย การปฐม
พยาบาลเบื้องต้น
เครือข่าย เข้ามาดูแลเมื่อมีการบอกกล่าว จัดอบรมเพื่อฟื้นฟูความรู้ที่จำเป็นให้กับเครือข่าย อสม.
อสม. จากพระสงฆ์และการจัดการยา มัคทายก รวมทั้งควรมีการให้ข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้
ต้องรอเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วย ใหม่ๆ
การจัดการ ไม่มีระบบการจัดการยาใน 1.มีกรอบบัญชียาของสถานศึกษา
ด้านยาในวัด สถานศึกษา 2.มีการจัดเก็บยาที่เหมาะสมเพื่อรักษาคุณภาพของยา
และควรมีการตรวจสอบวันหมดอายุของยาอย่าง
สม่ำเสมอ
อภิปรายผล: พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยมีประวัติในการเข้าร่วมเข้าร่วมโปรแกรม สัมมนาเรื่อง การปฐม
พยาบาล และความรู้พื้นฐานเรื่องยา ส่วนการตรวจสอบยาและเวชภัณฑ์ และเลือกใช้ จัด และจ่ายยา
จะอ่านจากฉลากข้างภาชนะบรรจุยา ประสบการณ์ตรงของตนเองหรือสอบถามจากบุคลากรทางการแพทย์
ที่ตนรู้จัก การได้รับงบประมาณสนับสนุนโดยส่วนใหญ่ได้จากการบริจาคทั้งเป็นเงิน ยาและเวชภัณฑ์ รวมถึง
ค่าใช้จ่ายในการนำส่งพระกรณีที่ต้องส่งไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ปัญหา
และอุปสรรคของการจัดการยาในวัดเกิดจาก ความไม่พร้อมส่วนของ ตู้ยาและเวชภัณฑ์ รวมไปถึงความรู้ในการ
วิเคราะห์อาการเจ็บป่วยและการใช้ยาที่ถูกต้องและเหมาะสม ขาดกรอบรายการยาที่ชัดเจน การเก็บรักษายา
ที่เหมาะสมอีกทั้งมียาที่หมดอายุและยาแปรสภาพ รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลกับทางโรงพยาบาลและการส่งต่อ
เพื่อรักษา
สรุปและข้อเสนอแนะ: ในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการใช้ยาในวัดที่เหมาะสมในพื้นที่ ควรบูรณาการจาก
3 ภาคส่วนได้แก่ ภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคสังคมที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ
และขับเคลื่อนผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และควรขยายผลการดำเนินงาน
ให้ครอบคลุมทั้งอำเภอเพื่อให้เกิดวัดส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและมีความปลอดภัยในการใช้ยา