Page 585 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 585
N49
2562 ร้อยละ19 (121/627) 15 (110/727) 13 (83/619) 8 (46/551) และ 7 (40/535) แผนกผู้ป่วยเด็ก พบ
เท่ากันปีพ.ศ.2562 พ.ศ.2563 และพ.ศ.2565 ร้อยละ 2 (12/535) (9/551) (12/727) และปีพ.ศ.2564 พ.ศ.
25656 ร้อยละ 1 เท่ากัน (9/619) (8/627) หอผู้ป่วยพิเศษและอื่นๆ พบเท่ากัน พ.ศ.2562 และพ.ศ.2565
ร้อยละ 6 (33/535) (45/727) พ.ศ.2565 ร้อยละ5 (33/619) และเท่ากัน ปีพ.ศ.2563 พ.ศ.25656 ร้อยละ 4
(21/551) (26/627) แผนกผู้ป่วยนอก พบมากที่สุดปีพ.ศ.2564 ร้อยละ 6 (36/619) พบรองลงมาเท่ากัน
พ.ศ.2563 และพ.ศ.2565 ร้อยละ4 (24/551) (31/727) พ.ศ. 2566 ร้อยละ 3 (19/627) และพบน้อยที่สุด
พ.ศ.2562 ร้อยละ 2 (12/535) ร.พ.ชุมชนพบมากที่สุดปีพ.ศ.2563 ร้อยละ36 (201/551) พบรองลงมา พ.ศ.
2565 ร้อยละ 35 (255/727)พ.ศ.2564 พ.ศ.2562 และพ.ศ. 2566 ร้อยละ34 (209/619) 30 (159/535)และ
21 (208/627)
การศึกษาพบว่าเชื้อ ซูโดโมแนส แอรูจิโนซา ดื้อต่อยาเจนตามัยซิน ดื้อมากที่สุด ปีพ.ศ.2562 ร้อยละ
11 (58/535) พบรองลงมา พ.ศ. 2564 ร้อยละ 9 (56/619) พ.ศ.2563 พ.ศ. 2565 และพ.ศ. 2566 ร้อยละ 7
(37/551) 4 (29/727) และร้อยละ 2 (11/627) ยาอะมิคาซิน พบดื้อมากสุดปีพ.ศ.2565 ร้ยละ 10 (73/727 )
รองลงมา พ.ศ.2562 ร้อยละ 8 (42/535) พ.ศ. 2563และพ.ศ. 2564 พบเท่ากันร้อยละ 5 (26/551)
(31/619) พ.ศ.2566 พบน้อยสุด ร้อยละ 2 (11/627) ยาเซฟตาซิดิม ปีพ.ศ.2562 ดื้อมากที่สุดร้อยละ14
(74/535) พบรองลงมา พ.ศ. 2566 ร้อยละ12 (75/627) และปีพ.ศ. 2564 พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2563 พบร้อยละ
9 (56/619) 8 (56/727) พ.ศ. 2563 7 (37/551) ยาซิโปรฟลอกซาซิน พบดื้อมากที่สุดปีพ.ศ.2566 ร้อยละ12
(73/627) รองลงมาพ.ศ.2562 ร้อยละ 11 (57/535) และปี 2565 พ.ศ.2564 พ.ศ. พ.ศ.2563 ร้อยละ 10
(75/727) 8 (52/619) 6 (32/551) ตามลำดับ ยาพิเพอราซิลลิน/ทาโซแบ็กแทม พบดื้อมากที่สุดปีพ.ศ.2566
ร้อยละ13 (82/627) รองลงมาพ.ศ.2565 ร้อยละ 5 (39/727) พบเท่ากันในปีพ.ศ.2562 พ.ศ.2563และปีพ.ศ.
2564 ร้อยละ 4 (23/535) (24/551) (24/619 ยากลุ่มคาร์บาพีเนม อิมิพีเนม พบดื้อมากที่สุดปีพ.ศ.2565 ร้อย
ละ 15 (107/727) รองลงมาพ.ศ.2566 ร้อยละ 13 (79/627) พ.ศ.2562 พ.ศ.2564 พ.ศ. พ.ศ.2563 ร้อยละ
10 (53/535) 9 (54/619) 6 (34/551) 13 (70/551) ยาเมอโรพิเนม พบดื้อมากที่สุดปีพ.ศ.2566 ร้อยละ 12
(78/627) รองลงมาพ.ศ.2562 พ.ศ.2564 พ.ศ. พ.ศ.2563 และ พ.ศ.2565 ร้อยละ11 (60/535) 8 (50/619) 7
(36/551) 4 (27/727) ตามลำดับและการดื้อยาโคลิสติน ปีพ.ศ.2566 พบร้อยละ4 (26/627)
อภิปรายผล: เชื้อ ซูโดโมแนส แอรูจิโนซา ในเสมหะที่ต้องใช้การดูดเก็บพบมากกว่าเสมหะที่เก็บได้เองแสดงถึง
ผู้ป่วยที่ต้องใส่อุปกรณ์ในระบบทางเดินหายใจหรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้จึงเพิ่มโอกาสติดเชื้อมากขึ้นและทำนอง
เดียวกันปัสสาวะที่เก็บจากสายสวนพบเชื้อมากกว่าปัสสาวะที่เก็บเอง พบในแผนกอายุรกรรมมากที่สุด
รองลงมาศัลยกรรม พบการดื้อยาลดลงในกลุ่มอะมิโนกลัยโคซายด์ แต่ในทางกลับกันพบว่ามีแนวโน้มดื้อยา
เพิ่มขึ้นหลายกลุ่มยา ได้แก่ เซฟตาซิดิม ซิโปรฟลอกซาซิน พิเพอราซิลลิน/ทาโซแบ็กแทม รวมทั้งคาร์บาพีเนม
ซึ่งเป็นยาที่ต้องเฝ้าระวังในการใช้ ยาโคลิสตินงานจุลชีววิทยาคลินิกเปิดบริการตรวจได้ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี
พ.ศ.2566 และพบมีการดื้อยา เมื่อส่งยืนยันกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แต่มีข้อจำกัดในการส่งต่อจำนวนน้อย
ไม่สามารถคำนวณทางสถิติได้ แต่พบว่าดื้อยาเช่นเดียวกัน จึงต้องตระหนักถึงการดื้อยาและเฝ้าระวังการดื้อยา
โคลิสตินต่อไป
สรุปและข้อเสนอแนะ: สรุปเชื้อ ซูโดโมแนส แอรูจิโนซา พบดื้อยาเพิ่มขึ้นเกือบทุกชนิดที่ทดสอบ โดยเฉพาะ
คาร์บาพีเนม จึงต้องมีการทบทวนการใช้ยาคาร์บาพีเนมและกำกับการใช้ยาอย่างเข้มงวด ส่วนยาโคลิสติน ต้อง
เฝ้าระวังเพราะมีการดื้อบ้างแล้ว รวมทั้งการทบทวนกระบวนการการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
ในโรงพยาบาล รวมทั้งโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งต้องมีการร่วมมือกันหลายฝ่าย ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก
เป็นแหล่งข้อมูล ต้องแจ้งสถานการณ์ให้ทุกฝ่ายทราบ เพื่อนำไปใช้ต่อไป