Page 582 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 582

N46

                  ศัลกรรม ร้อยละ 24.6 และกระดูก ร้อยละ12.3 ยาต้านจุลชีพชนิดฉีดที่มีการใช้มากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่

                  ceftriaxone ร้อยละ 24.6, cefazolin ร้อยละ 20.9, ceftazidime ร้อยละ 19.2, meropenem ร้อยละ 14.8
                  และ pip/tazo ร้อยละ 4.4 ตามลำดับ ซึ่งข้อบ่งชี้การใช้ยาต้านจุลชีพมากที่สุดคือรักษาติดเชื้อไม่ทราบเชื้อ
                  ก่อโรค(อาจเพราะผลเพาะเชื้อไม่ขึ้นหรือไม่ได้ส่งตรวจเพาะเชื้อ) 184 ราย (ร้อยละ 55.3) รองมาเป็นรักษา

                  ติดเชื้อที่ทราบเชื้อก่อโรค 61 ราย (ร้อยละ 18.3) และให้เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการผ่าตัด 59 ราย (ร้อยละ
                  17.7)  โรคติดเชื้อที่ให้ยาต้านจุลชีพที่พบมากที่สุดคือปอดอักเสบ 57 ราย (ร้อยละ 17.2) รองมาเป็น severe
                  sepsis/septic shock 41 ราย (ร้อยละ 12.3) และไข้ไม่ทราบเหตุ 31ราย (ร้อยละ 9.3) โดยเชื้อก่อโรคที่เป็น
                  สาเหตุติดเชื้อมากที่สุดคือ Klebsiella pneumoniae และ Acinetobactor baumanii พบเท่ากันคิดเป็น

                  ร้อยละ 21.9, Escherichia coli ร้อยละ 14.1, Enterococcus spp ร้อยละ 10.9 และ Staphylococcus
                  aureus ร้อยละ 9.4 ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าสัดส่วนติดเชื้อจากชุมชน(CAI)มากที่สุด ร้อยละ 76.5 และ
                  ติดเชื้อจากรพ.(HAI) ร้อยละ 23.5 เป็นเชื้อก่อโรคไม่ดื้อยา ร้อยละ 65.6 พบมากสุดเป็น Klebsiella
                  pneumoniae รองมาเป็น Escherichia coli, Staphylococcus aureus และ Enterococcus spp มีจำนวน

                  เท่ากันตามลำดับ และเชื้อดื้อยา ร้อยละ 34.4 พบมากที่สุดเป็น Acinetobactor baumanii รองมาเป็น
                  Klebsiella pneumoniae และ Escherichia coli ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ในแง่ของการให้ยาต้านจุลชีพ
                  เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากผ่าตัดจาก 59 ราย  พบว่าหัตถการทางสูตินารีเวชมากที่สุด ร้อยละ 31.0 รองมาเป็น
                  ทางกระดูกและข้อ ร้อยละ 27.6, ทางศัลยกรรม ร้อยละ 25.9, ทางตา ร้อยละ 12.1 และทางหูคอจมูก ร้อยละ

                  3.4 ตามลำดับ หัตถการที่พบมากที่สุดคือ cesarean section ตามด้วย TAH ตามลำดับ ยาต้านจุลชีพที่ให้
                  มากที่สุดคือ cefazolin ร้อยละ 52.5 รองมาเป็น ciprofloxacin ชนิดกิน ร้อยละ 13.6, ceftriaxone ร้อยละ
                  10.2 และ Fosfomycin ชนิดฉีด ร้อยละ 5.1 ตามลำดับ

                  อภิปรายผล: จากข้อมูลดังกล่าวทำให้เห็นภาพรวมของผู้ป่วยในรพ.ที่ได้รับยาต้านจุลชีพซึ่งพบได้ถึง 1/3 ที่นอน
                  รพ.เป็นสัดส่วนที่คิดว่าไม่น้อยเลยดังนั้นควรให้ความสำคัญ เมื่อมาดูในรายละเอียดพบว่าเกินครึ่งให้เพราะรักษา

                  โรคติดเชื้อแต่ไม่พบการเพาะเชื้อหรือเพาะเชื้อไม่ขึ้น ซึ่งอาจเป็นจากไม่ได้เก็บสิ่งส่งตรวจก่อนให้ยาหรือเก็บ
                  สิ่งส่งตรวจไม่เหมาะสมหรือสิ่งส่งตรวจไม่ได้คุณภาพ นอกจากนี้การใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อป้องกันการติดเชื้อจาก
                  การผ่าตัดพบได้ 1 ใน 5 ของผู้ป่วยที่นอนรพ. เพื่อให้เกิดความเหมาะสมการใช้ยามากขึ้นเห็นควรออกแนวทาง

                  ร่วมกันที่ตรงบริบทกับรพ. ส่วนสาเหตุโรคติดเชื้อที่พบมากที่สุดได้แก่ปอดอักเสบ รองมาเป็นภาวะ severe
                  sepsis/septic shock และไข้ไม่ทราบเหตุตามลำดับ เพื่อทำให้การใช้ยาต้านจุลชีพให้เหมาะสมมากขึ้นเห็น
                  ควรเพิ่มการกำกับการวินิจฉัยโรคติดเชื้อให้ครอบคลุมมากขึ้นและจัดทำแนวทางการรักษาสำหรับโรคปอด
                  อักเสบติดเชื้อของรพ.ก่อน เชื้อดื้อยาก่อโรคพบบ่อยได้แก่  Acinetobactor baumanii, Klebsiella
                  pneumoniae และ Escherichia coli ดังนั้นควรเน้นย้ำมาตรการ MDR bundle,การจัดการสิ่งแวดล้อม และ

                  เสริมการทำ antimicrobial stewardship program อย่างต่อเนื่องต่อไป
                  สรุปและข้อเสนอแนะ: จากโครงการ “หนึ่งวัน” มหัศจรรย์ ที่ได้ทำไปนั้น ทำให้เห็นภาพรวมการใช้ยาต้าน
                  จุลชีพจริงและพบปัญหาจริงในปัจจุบัน ดังนั้น สิ่งที่จะทำต่อไปคือ เรื่องการครอบคลุมการวินิจฉัยโรคติดเชื้อให้

                  ถูกต้องที่สุด การกำกับการใช้ยาต้านจุลชีพให้เหมาะสมกับบริบทของรพ. การส่งสิ่งส่งตรวจเพื่อเพาะเชื้อให้
                  ถูกต้องและครบถ้วน การมีแนวการรักษาโรคติดเชื้อที่พบบ่อย และมีการกำกับติดตามต่อไป เพื่อเป็นจุดเริ่มต้น
                  ที่ตรงจุดสำหรับการจัดการเชื้อดื้อยาต่อไปในอนาคต
   577   578   579   580   581   582   583   584   585   586   587