Page 581 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 581
N45
“หนึ่งวัน” มหัศจรรย์เพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อและจัดการเชื้อดื้อยา
พญ.สุนีย์ ชยางศุ, นางสิริกุล พิพิธแสงจันทร์, นางสาวสุชัญญา มาลัย, นางสาววิไลลักษณ์ คำพิทักษ์,
นางศรีสุภา เรืองแข, นางสาวศิริลักษณ์ ลำดับจุด, นางสาวธัชมาศ โล้กูลประกิจ, ภก.เนตรนภา ตรีนิติ,
นางเสาวรัตน์ ดีแก่: คณะทำงาน AMR โรงพยาบาลสุรินทร์
โรงพยาบาลสุรินทร์ เขตสุขภาพที่ 9
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกและในประเทศไทย ปัจจัยสำคัญของ
การเกิดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพคือการใช้ยาต้านจุลชีพมากเกินความจำเป็นอย่างไม่เหมาะสมทำให้เชื้อโรคที่เคยไว
กับยาต้านจุลชีพธรรมดากลายพันธุ์เป็นเชื้อดื้อยา ดังนั้น การรู้สถานการณ์ของเชื้อดื้อยาให้เป็นปัจจุบันจะ
นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ต่อเนื่องต่อไป การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลตาม
แนวทางของ GLASS Surveillance System ทำให้ทราบเชื้อดื้อยาที่พบได้บ่อยในรพ.และแยกประเภทเป็น
การติดเชื้อจากชุมชนหรือการติดเชื้อจากโรงพยาบาลจากสิ่งส่งตรวจหลากหลายชนิด แต่ยังขาดแง่มุมของโรค
ติดเชื้อ ยาต้านจุลชีพ เป็นต้น ดังนั้น การพัฒการการเฝ้าระวังการติดเชื้อดื้อยาโดยระบบ “หนึ่งวัน” มหัศจรรย์
ที่ปรับใช้ให้ตรงบริบทกับโรงพยาบาลที่ทำควบคู่ไปกับการสำรวจความชุกการติดเชื้อในโรงพยาบาลจาก
หน่วยงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ทำเป็นประจำทุกปี ทำให้ให้ทราบสถานการณ์ปัจจุบัน
ในระดับโรงพยาบาลแล้วนำไปประเมิน วิเคราะห์เพื่อออกแนวทาง และจัดการเชื้อดื้อยาต่อไป
วัตถุประสงค์การศึกษา: เพื่อทราบข้อมูลพื้นฐาน การติดเชื้อ การใช้ยาต้านจุลชีพ ปัญหาเชื้อดื้อยา
ในโรงพยาบาลให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันและครอบคลุมในหลายมิติ
วิธีการศึกษา: Action research โดยแบ่งการวิจัยเป็นระยะดังนี้
1. pre-action study: ทีมวิจัยกำหนดรูปแบบการเก็บข้อมูลโดยทำควบคู่กับการสำรวจความชุก
ประจำปี พ.ศ. 2567 ให้งานมีความเชื่อมโยงกัน กำหนดวันที่จะสำรวจ และเตรียมข้อมูลผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับ
ยาต้านจุลชีพในช่วงวันที่กำหนด ออกแบบ case record form และลองเก็บข้อมูลดูก่อนเพื่อปรับแก้ให้เข้าใจ
ตรงกันมากที่สุด
2. action study: วันที่สำรวจความชุกแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกให้ความรู้เรื่องงานป้องกันและควบคุม
การติดเชื้อ คำจำกัดความต่างๆ และแนวทางการเก็บข้อมูลทั้งความชุกการติดเชื้อในรพ. และข้อมูลพื้นฐานของ
ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านจุลชีพในเวลา 24 ชม.ของวันที่กำหนด พูดคุย แลกเปลี่ยน ช่วงต่อมาวันลงสำรวจและ
เก็บข้อมูลผู้ป่วยในทุกราย หากพบปัญหาการเก็บข้อมูลแก้ไขทันที
3. post- action study: หลังจากรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยในที่ได้รับยาต้านจุลชีพ นำข้อมูลมาตรวจสอบ
ความถูกต้องและครบถ้วน ต่อมานำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยเฉพาะในเรื่องยาต้านจุลชีพ ขนาดยา ข้อบ่งชี้ใช้ยา
ประเภทการติดเชื้อ ติดเชื้อแบบใด แล้วสรุปผล รายงานสถานการณ์ต่อไป
ผลการศึกษา: ผลการสำรวจความชุกกับโครงการ”หนึ่งวัน”มหัศจรรย์เพื่อจัดการเชื้อดื้อยา เมื่อวันที่
21 มีนาคม พ.ศ. 2567 ในทุกหอผู้ป่วยจำนวน 44 หอผู้ป่วย มีผู้ป่วยในจำนวนทั้งสิ้น 967 ราย พบว่า มีผู้ป่วย
ในได้รับยาต้านจุลชีพทั้งรูปฉีดและกิน จำนวน 333 ราย(ร้อยละ 34.4) คิดเป็นชนิดฉีด 294 ราย(ร้อยละ88.3)
ชนิดกิน 39 ราย(ร้อยละ11.7) แผนกอายุรกรรมมีการใช้ยาต้านจุลชีพสูงสุด ร้อยละ 49.0 รองมาเป็นแผนก