Page 590 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 590
O4
การพัฒนาระบบรับ-ส่งต่อการบริบาลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลาง จังหวัดอำนาจเจริญ
นางเยาวราภรณ์ ยืนยงค์
งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลอำนาจเจริญ
โรงพยาบาลอำนาจเจริญ เขตสุขภาพที่ 10
ประเภทวิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
การบริบาลฟื้นฟูสภาพระยะกลาง หมายถึงการบริบาลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลางที่มีอาการทาง
คลินิกผ่านพ้นภาวะวิกฤติ และมีอาการคงที่ แต่ยังคงมีความผิดปกติของร่างกายบางส่วนอยู่ และมีข้อจำกัด
ในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน จำเป็นต้องได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์โดยทีมสห
วิชาชีพ (Multidisciplinary approach) อย่างต่อเนื่องจนครบ 6 เดือน ตั้งแต่ในโรงพยาบาลจนถึงชุมชน
เพื่อเพิ่มสมรรถนะร่างกาย จิตใจ ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และลดความพิการหรือภาวะทุพพลภาพ
รวมทั้งกลับสู่สังคมได้อย่างเต็มศักยภาพ กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง โดยผู้ป่วย
4 โรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บที่สมอง การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง และกระดูกสะโพกหัก
สำนักงานหลักประกันสุขภาพกำหนดอัตราการจ่ายชดเชยการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย IMC ไม่เกิน 20
ครั้ง/ราย ภายในระยะเวลา 6 เดือน ในจังหวัดอำนาจเจริญ ผู้ป่วย IMC ได้รับการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพในปี
2564 - 2566 เฉลี่ย 4.04 , 7.10 และ 11.80 ครั้งต่อราย ตามลำดับ ถึงแม้จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ยังมีจำนวน
ที่น้อยมากเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพกำหนด จากข้อมูลปีงบประมาณ 2566 ร้อยละ
ผู้ป่วย Stroke, Traumatic Brain Injury และ Spinal Cord Injury ในจังหวัดอำนาจเจริญ ที่รอดชีวิตและ
มีคะแนน Barthel index < 15 รวมทั้งคะแนน Barthel index >15 with multiple impairment ได้รับ
การบริบาลฟื้นสภาพระยะกลางและ ติดตามจนครบ 6 เดือน หรือจน Barthel index = 20 คิดเป็นร้อยละ
87.95 จากการวิเคราะห์ข้อมูล สาเหตุที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการบริบาลฟื้นฟูสภาพระยะกลาง มีสาเหตุมาจาก
ตามหาผู้ป่วยไม่พบ ย้ายที่อยู่ ไม่มีระบบแจ้งเตือนการส่งต่อ ทำให้นักกายภาพบบัดไม่สามารถติดตามผู้ป่วยได้
ดังนั้น จังหวัดอำนาจเจริญ จึงพัฒนาระบบการรับส่งผู้ป่วยระยะกลาง
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อพัฒนาระบบการรับ ส่งต่อ และระบบฐานข้อมูลผู้ป่วยระยะกลางในจังหวัดอำนาจเจริญ
วิธีการศึกษา
เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยศึกษาระบบการจัดเก็บข้อมูล และการส่งต่อผู้ป่วยที่ดำเนินการมา
วิเคราะห์หาปัญหาที่เกิดขึ้น วิเคราะห์ปัญหา โดยการประชุมเพื่อระดมสมอง นักกายภาพบำบัดในจังหวัด
อำนาจเจริญ ถึงปัญหาและอุปสรรคของการให้บริบาลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลาง โดยการส่งต่อข้อมูลผ่าน
google drive ทำให้ไม่ทราบถึงสถานะผู้ป่วย ไม่มีระบบแจ้งเตือนการส่งต่อ เมื่อค้นหาผู้ป่วย ไม่สามารถตาม
หาผู้ป่วยได้ บ้านเลขที่ไม่ตรงกับที่ผู้ป่วยพำนักจริงทำให้นักกายภาพบบัดไม่สามารถติดตามผู้ป่วยได้ นอกจากนี้
ยังเกิดความยุ่งยากในการจัดทำรายงาน จึงพัฒนาระบบสารสนเทศในรูปแบบเว็ปแอพพลิเคชั่นที่มาช่วย
จัดการด้านข้อมูล บูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลรับ ส่งต่อผู้ป่วย ติดตามอาการและรับส่งต่อข้อมูลสารสนเทศ
ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริบาลฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งมีระบบการแจ้งเตือนการส่งต่อผู้ป่วยได้เป็นปัจจุบันระบบ
จัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยระยะกลาง ที่มีระบบการเตือนเมื่อมีการส่งต่อผู้ป่วยศึกษางานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
เตรียมข้อมูลในการพัฒนาระบบสารสนเทศในรูปแบบเว็ปแอพพลิเคชั่น ออกแบบระบบการจัดเก็บข้อมูล
การรับ ส่งต่อผู้ป่วย ไลน์แจ้งเตือนการส่งต่อผู้ป่วย ระบบรายงานข้อมูลให้เห็นในรูปแบบ Dashboard