Page 591 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 591
O5
ประเมินผลโดยนักกายภาพบำบัด และผู้ใช้งานระบบการรับ ส่งต่อผู้ป่วย ทดสอบการใช้งานระบบรับ ส่งต่อผู้ป่วย
ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน
ผลการศึกษา
การพัฒนาระบบรับ-ส่งต่อการบริบาลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลาง จังหวัดอำนาจเจริญในระบบสารสนเทศ
ในรูปแบบเว็ปแอพพลิเคชั่น มีระบบความปลอดภัยด้วยการกำหนดรหัสผ่านการเข้าใช้งานเป็นลำดับชั้น
เมื่อมีการส่งต่อผู้ป่วยจะมีระบบการแจ้งเตือนทางไลน์ มีระบบการรับการส่งต่อ ระบบการรายงานข้อมูลการ
ให้บริบาลฟื้นฟูสภาพ ระบบการจำหน่ายผู้ป่วย ระบบการรายงานข้อมูลให้เห็นในรูปแบบ Dashboard
สามารถมองเห็นร่วมกัน ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจร้อยละ 87.5 ด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือความรวดเร็ว
ในการส่งต่อข้อมูล รองลงมาคือ ด้านความง่ายต่อการใช้งานของระบบ และ ด้านการทำงานตามฟังก์ชันการใช้
งานของระบบ
อภิปรายผล
การพัฒนาระบบรับ-ส่งต่อการบริบาลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลาง จังหวัดอำนาจเจริญ ในระบบ
สารสนเทศในรูปแบบเว็ปแอพพลิเคชั่น สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง โดยได้นำไปใช้งานกับ
โรงพยาบาล 7 แห่งในจังหวัดอำนาจเจริญ ทำให้หน่วยบริการสามารถรับ ส่งต่อข้อมูลการบริบาลฟื้นฟูสภาพ
ผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว มีระบบการแจ้งเตือนทางไลน์เมื่อมีการรับ ส่งต่อผู้ป่วย สามารถมองเห็นข้อมูลการให้
บริบาลฟื้นฟูสภาพร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการฟื้นฟูสภาพ สอดคล้องกับงานวิจัยของสุวิทย์ โรจนศักดิ์โสธร ที่พัฒนา
ระบบการรับ ส่งต่อผู้ป่วย(Smart refer) เขตสุขภาพที่ 10 ที่พัฒนาขึ้นในรูปแบบแอพพลิเคชั่นสามารถมองเห็น
ข้อมูลการรักษาหรือการวินิจฉัยเบื้องต้นจากโรงพยาบาลที่ส่งต่อได้ทันที ก่อนที่คนไข้จะเดินทางมาถึง แตกต่าง
จากรูปแบบการรับ ส่งต่อผู้ป่วยแบบเดิมที่เป็นเอกสาร ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับบริบาลฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว และมี
ระบบการสื่อสารระหว่างหน่วยบริการที่ส่ง และหน่วยบริการที่รับ ผู้ป่วย นอกจากนี้ยังมีระบบรายงานข้อมูล
ให้เห็นในรูปแบบ Dashboard ทำให้สามารถติดตามข้อมูลการบริบาลฟื้นฟูสภาพได้อย่างรวดเร็ว
สรุปและข้อเสนอแนะ
สรุป การพัฒนาระบบรับ-ส่งต่อการบริบาลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลาง จังหวัดอำนาจเจริญในระบบ
สารสนเทศในรูปแบบเว็ปแอพพลิเคชั่น สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ง่าย สะดวก ผู้ให้บริการสามารถ
มองเห็นประวัติการบริบาลฟื้นฟูได้สะดวก มีระบบแจ้งเตือนการรับ ส่งต่อผู้ป่วย และ ระบบรายงาน ข้อมูลให้
เห็นในรูปแบบ Dashboard
ข้อเสนอแนะ การพัฒนาระบบรับ-ส่งต่อการบริบาลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลาง จังหวัดอำนาจเจริญ
เป็นการดำเนินงานเฉพาะภายในจังหวัดอำนาจเจริญ แต่มีผู้ป่วยบางส่วนที่ถูกต่อมาจากโรงพยาบาลนอก
จังหวัดอำนาจเจริญ จึงควรพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้ครอบคลุมทั้งเขตสุขภาพที่ 10
การปกป้องสิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง
การวิจัยนี้ได้รับการพิจารณาการปกป้องสิทธิ์ของกลุ่มตัวอย่างโดยผ่านการรับรองจากคณะกรรมการ
พิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โรงพยาบาลอำนาจเจริญ เอกสารรับรองเลขที่ 17/2565 ลงวันที่ 25
ตุลาคม 2565
กิตติกรรมประกาศ
ผู้วิจัยขอขอบคุณทีมนักกายภาพบำบัดจังหวัดอำนาจเจริญ ที่มีส่วนร่วมให้ความเห็น วิเคราะห์และ
ออกแบบระบบ และประเมินการใช้งานระบบ รวมไปถึงโปรแกรมเมอร์ ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
อุบลราชธานี ที่มีส่วนในการพัฒนาระบบสารสนเทศการรับ ส่งต่อการบริบาลฟื้นฟูสภาพ ในรูปแบบเว็ป
แอพพลิเคชั่น