Page 610 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 610

O24


                  ปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นฟูใน 6 เดือนของผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองของโรงพยาบาลหนองบัวลำภู
                                                                                                ชื่นจิต โนวฤทธิ์
                                                         โรงพยาบาลหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู เขตสุขภาพที่ 8
                                                                                               ประเภทวิชาการ

                  ความสำคัญ
                         ผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองเป็นกลุ่มผู้ป่วย IMC ที่ต้องได้รับการฟื้นฟูต่อเนื่องใน 6 เดือนจึงศึกษาปัจจัยใดที่
                  ส่งผลให้ผู้ป่วยมีค่า Barthel index มากกว่า 15 คะแนน เพื่อประเมินโอกาสในการฟื้นฟูและการหาปัจจัยที่

                  เกี่ยวข้องกับการบริการทางกายภาพบำบัด

                  วัตถุประสงค์วิจัย
                         เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นฟูใน 6 เดือนของผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองโรงพยาบาลหนองบัวลำภู

                  วิธีการศึกษา ชนิดวิจัยPrognostic factor research รูปแบบ Observational cohort  วิธีการรวบรวมข้อมูล
                  Retro-prospective data collection ศึกษาใน ผู้ป่วยtraumatic brain injury ที่ได้รับการฟื้นฟูโดยนัก
                  กายภาพบำบัดโรงพยาบาลหนองบัวลำภู แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยที่ค่าคะแนน Barthel index <15

                  จำนวน 13 ราย กลุ่มที่มีค่าคะแนน Barthel index >15 จำนวน 39 ราย รวมทั้งหมด 52 ราย รวบรวมข้อมูล
                  ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2661 ถึง 30 มีนาคม 2566 โดยปัจจัยที่ศึกษา แบ่งเป็น 1.ปัจจัยด้านลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย
                  ได้แก่ เพศ อายุ BMI โรคประจำตัว การใช้สารเสพติด ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่  2.ปัจจัยผู้ป่วยช่วงPre-
                  Hospital ได้แก่ ดื่มสุรา/สารเสพติดก่อนการบาดเจ็บ การนำส่ง 3.ปัจจัยผู้ป่วยช่วงIn–Hospital ได้แก่ สาเหตุ

                  การบาดเจ็บ GCSแรกรับ GCSจำหน่าย Aphasia Dysphagia Image findings การรักษา อุปกรณ์ที่ใช้ในการ
                  รักษา โรคร่วม ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ระยะเวลาที่เริ่มทำPT LOS จำนวนครั้งที่ทำPT IPD 4. ปัจจัยผู้ป่วย
                  ช่วงpost–Hospital ได้แก่ จำนวนครั้งที่ทำPT OPD, จำนวนครั้งที่ทำ PT Home visit, และการมีผู้ดูแล

                  การวัดผลและวิธีการ

                         คำนวณสถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูล
                  ต่อเนื่องที่มีการกระจายแบบปกติ  และใช้การแสดงค่ามัธยฐานและค่าพิสัยควอไทล์สำหรับข้อมูลต่อเนื่องที่มี
                  การกระจายแบบไม่ปกติ สถิติสำหรับการเปรียบเทียบ ใช้สถิติ Exact probability test สำหรับ categorical
                  variable และ T-test สำหรับ continuous variable หาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการฟื้นฟูด้วย multivariable
                  risk regression


                  ผลการศึกษาและอภิปรายผล
                         หลังวิเคราะห์ด้วย multivariable risk regression โดยปรับอิทธิพลตัวแปลที่ได้จากการทำ
                  Univariable Analysis พบปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นฟูใน 6 เดือนของผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมอง  3 ด้าน ได้แก่  การมี
                  โรคประจำตัว ARR 0.78 (95%CI 0.63-0.96, p=0.024)  คะแนน GCS แรกรับ 13 -15 คะแนน ARR 1.40

                  (95%CI 1.02-1.92, p=0.034) และระยะเวลาที่เริ่มทำPT ARR 0.97 (95%CI 0.94-1.35, p=0.037) ซึ่งเมื่อ
                  นำปัจจัยเกี่ยวกับการให้บริการจากกายภาพบำบัด คือ ระยะเวลาที่เริ่มทำPT มาวิเคราะห์ต่อด้วย
                  multivariable risk regression หลังปรับอิทธิพลตัวแปลที่มีผลต่อค่า Barthel index ที่ 6 เดือน ได้แก่ เพศ
                  อายุ BMI โรคประจำตัวที่มีผล การได้รับอุบัติเหตุทางถนน  คะแนน GCS แรกรับ ความรุนแรงของพยาธิสภาพ

                  ที่สมอง พบว่าเมื่อเวลาที่เริ่มต้นในการทำPT ช้า 1 วัน ทำให้โอกาสที่ผู้ป่วยแต่ละคนมีคะแนน Barthel index
                  ที่สูงขึ้นลดลง 3 %  (IRR 0.97 ,95%CI 0.94-0.99,p=0.047)
   605   606   607   608   609   610   611   612   613   614   615