Page 625 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 625

P2


                  3. จัดตั้งหอผู้ป่วย Step down-Home ward ของโรงพยาบาล เพื่อรับผิดชอบภาระงานดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
                  ไส้ติ่งแบบ Home ward ได้อย่างชัดเจน เต็มประสิทธิภาพ และตลอดเวลา เสมือนผู้ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล เช่น
                  การเยี่ยมผู้ป่วยทุก 8 ชั่วโมง การตรวจหาภาวะแทรกซ้อน และปัญหาของผู้ป่วย และรายงานแพทย์ผ่าตัด

                  หรือเภสัชกร เพื่อแก้ไขได้ทันที 4.มีช่องทางในการติดต่อโรงพยาบาลในกรณีฉุกเฉินได้ตลอด 24 ชั่วโมง
                  โดยอาศัยระบบการประสานงานผ่านหน่วยปฐมภูมิ อสม. รพสต. รพช. เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในเบื้องต้นได้

                  ผลการศึกษา
                         1. ได้แนวทางที่ดีในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดไส้ติ่งแบบ Home ward  โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
                         2. บุคลากรทางการแพทย์ทำงานได้เร็วขึ้น ด้วยการส่งต่อข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

                         3. ทีมรักษา สามารถตรวจพบภาวะแทรกซ้อนได้ และให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที  ทำให้พบ
                  ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเป็นร้อยละ 0
                         4. ลดภาระผู้ดูแล หรือ Care giver ลง
                         5. เข้าถึงผู้ป่วยได้มากขึ้นจากเดิมร้อยละ 20 เนื่องจากสามารถลดช่องว่างด้านเทคโนโลยี และข้อจำกัด

                  ของผู้ดูแลผู้ป่วยลงได้

                  อภิปรายผล
                         การสร้างแนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งแบบ Home ward นี้ เป็นการขยายการดูแลผู้ป่วยผ่าตัด
                  วันเดียวกลับ อีกทั้งยังเป็นการขยายขอบเขตการดูแลผู้ป่วยสู่ผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆได้ สิ่งสำคัญคือ การดูแลการ
                  วางแผนที่ดี ต้องมีการพัฒนาการส่งต่อข้อมูลการดูแลและสิ่งที่ควรติดตามการรักษานอกโรงพยาบาล สู่ทีมดูแล

                  Home ward เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นและทำให้การดำเนินงานราบรื่น

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         แนวทางการดูแลผู้ป่วยนี้ สามารถนำมาพัฒนาต่อได้แก่
                                1. การเตรียมผู้ป่วยและญาติ
                                2. การดูแลระหว่างการผ่าตัด และระงับความรู้สึก

                                3. เกณฑ์การจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
   620   621   622   623   624   625   626   627   628   629   630