Page 629 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 629
P6
จากโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์) และการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจและการใช้เครื่องช่วย
หายใจให้แก่ทีมพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน ข้อนี้จะเป็นการช่วยลดภาระของโรงพยาบาล แม่ข่ายได้อย่างมาก
E = Empowerment การลงเยี่ยมโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งและโรงพยาบาลระนองเพื่อเสริมพลัง
ให้แก่ทีมงานในเครือข่ายโดยเน้นการ positive feedback การทำ knowledge management (KM)
และการนำเสนอ good practice ในเครือข่ายโดยการนำ PRINCE model มาใช้จะแบ่งเป็น Phase ละ 6
เดือน ทำการศึกษาวิเคราะห์ผลและนำมาปรับปรุงกระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีกว่าเดิมด้วย DALI cycle
ทั้งหมด 3 phase
ผลการศึกษา
PCT ศัลยกรรมประสาทและทีมงานสหสาขาวิชาชีพในเครือข่ายชุมพร-ระนองได้ดำเนินโครงการ
บริหารเตียง ICU ด้วย PRINCE model เป็นเวลา 3 phase คือ phase -I ดำเนินการตั้งแต่ มกราคม -มิถุนายน
2565 Phase-II ดำเนินการตั้งแต่ กรกฎาคม - ธันวาคม 2565 และ Phase-III ดำเนินการตั้งแต่ มกราคม -
ธันวาคม 2566 เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยและแบบบันทึกการวิจัย ตั้งแต่มกราคม พ.ศ. 2565 ถึงธันวาคม
พ.ศ. 2566 ได้ผลการศึกษาพบดังแสดงในตาราง
พ.ศ. Phase % รพ. ที่ดูแลผู้ป่วย %การเข้าถึง อัตราตาย ความพึงพอใจ
ใส่ท่อช่วยหายใจได้ ICU ผู้ป่วยหนัก ผู้รับบริการ
2564 ก่อนพัฒนา 25% 57.4% 29.3% 72.4%
2565 1 50% 64.8% 19.7% 79.8%
2565 2 83% 78.5% 11.2% 84.3%
2566 3 100% 86.2% 8.5% 92.5%
อภิปรายผล
ความสำเร็จของการบริหารเตียง ICU ศัลยกรรมโดยทีมงานในเครือข่ายชุมพร-ระนองได้ร่วมกันพัฒนา
โดยการใช้ PRINCE model ทำให้ผู้ป่วยหนักเข้าถึง ICU มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value = 0.034)
ทำให้อัตราตายลดลง (p value = 0.022) ความพึงพอใจของผู้รับบริการสูงขึ้น (p value = 0.041) พบว่าการ
พัฒนาที่สำคัญคือโรงพยาบาลชุมชนร้อยละ 100 สามารถดูแลผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจได้ซึ่งช่วยลดภาระ
โรงพยาบาลแม่ข่ายได้เป็นอย่างมาก
สรุปและข้อเสนอแนะ
6.1 สรุปสาระสำคัญของผลการศึกษา : การบริหารเตียง ICU ศัลยกรรมโดยใช้พลังของเครือข่ายด้วย
PRINCE model ซึ่งถอดแบบมาจาก WHO : 6 Building blocks plus of health ความสำเร็จเกิดจากความ
ร่วมมือของเครือข่ายภายใต้การนำของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกแห่งโดยใช้
การบริหารจัดการใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและใช้งบประมาณน้อยที่สุด
6.2 ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาต่อไป : เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดจากปี 2566 และทำให้
เกิดความยั่งยืนในอนาคต ในปี 2566 – 2567 PCT ศัลยกรรมประสาทได้พัฒนาต่อยอดจากโครงการเดิมโดย
การใช้ PRINCE model phase-IV และมีแผนขยายจำนวนเตียง ICU กลุ่มศัลยกรรม (NSICU, SICU) เพื่อ
เป้าหมายให้ผู้ป่วยหนักได้เข้าถึง ICU ร้อยละ 100 เพื่อผลการรักษาที่เป็นเลิศ