Page 628 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 628
P5
“การเสริมพลังเครือข่ายเพื่อบริหารเตียงผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โดยการใช้ PRINCE model”
วรางคณา เจียะสถิตย์, สมฤดี ศรีขำกุล
โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร เขตสุขภาพที่ 11
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์เป็นศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทจากโรงพยาบาลชุมชนใน
จังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยหนักโรคหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke)
และภาวะสมองบาดเจ็บ (Traumatic brain injury) ที่ส่งต่อเข้ามามีปริมาณมากกว่าจำนวนเตียงผู้ป่วยหนัก
ศัลยกรรม (ICU.) การศึกษาข้อมูลย้อนหลังพบว่าผู้ป่วยหนัก (GCS 5-8) มีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 29.3 การ
ทำ Root cause analysis พบว่าอัตราการเข้าถึงหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมในปี 2564 มีเพียงร้อยละ 57.4 และ
ผู้ป่วยหนักที่ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยสามัญมีอัตราตายสูงกว่าการรักษาใน ICU และผู้รับบริการมีความพึง
พอใจต่ำ
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อให้ผู้ป่วยหนักเข้าถึง ICU. ได้มากกว่าร้อยละ 80 อัตราตายในผู้ป่วยหนักน้อยกว่าร้อยละ 10
และผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากกว่าร้อยละ 90 ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566
วิธีการศึกษา
เป็นการศึกษาวิจัยแบบ Research and development (R&D) โดยทำการศึกษาวิจัยและพัฒนา
ระบบ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาด้วย
ร้อยละและสถิติเชิงอนุมานด้วย Student t-test
วิธีการดำเนินการศึกษา
การศึกษาพัฒนาครั้งนี้ได้นำหลักการ 3C-DALI มาใช้โดยเริ่มจาก PCT ศัลยกรรมประสาทและทีม
สหสาขาวิชาชีพในเครือข่ายจังหวัดชุมพรและจังหวัดระนองได้วิเคราะห์ปัญหาที่ทำให้เตียง ICU ไม่เพียงพอ
แล้วได้ร่วมกันดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อให้การบริหารเตียง ICU ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยการ
ดำเนินการด้วย PRINCE model ซึ่งมีรายละเอียดการดำเนินงานดังนี้
P = Palliative care โดยนำวิธีการ home ventilator มาใช้เพื่อบริหารเตียงไว้สำหรับรับผู้ป่วยหนัก
R = Refer back and Intermediate care policy การส่งผู้ป่วยที่อาการคงที่หรือผู้ป่วย palliative
care กลับไปรักษาต่อโรงพยาบาลชุมชน
I = Information technology การนำ IT มาใช้ในการบริหารจัดการเตียง ICU. และใช้เพื่อสื่อสาร
สถานการณ์เตียง ICU. ภายในเครือข่ายแบบ Real time (bed availability)
N = Neurosurgery Chumphon-Ranong Network การสร้างเครือข่ายแบบไร้รอยต่อในการดูแล
ผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทของจังหวัดชุมพร-ระนองโดยเน้นการส่งต่อผู้ป่วยหนักที่ยังมีความหวังในการผ่าตัด
C = Community hospital competency improvement การพัฒนาให้โรงพยาบาลชุมชนมี
ศักยภาพในการ ดูแลผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจได้ โดยการใช้ทรัพยากรร่วมกันเช่น BIRD ventilator (ใช้การยืม