Page 626 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 626
P3
RBH smart Colonoscopy: ระบบติดตามความก้าวหน้าแบบ real-time
ด้วยนวัตกรรมดิจิทัล
สรวิศ จันทร์เพ็ญ, นพวัชร์ สมานคติวัฒน์
โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี เขตสุขภาพที่ 5
ประเภท นวัตกรรมนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ปัญหาสำคัญ
การส่องตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง (Colonoscopy) ในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจ FIT test
และมีผลบวกมาก่อน เป็นมาตรการสำคัญในการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบ
คือ ระยะเวลารอคอย และ waiting list ยังมีสะสม แต่การติดตามผลการดำเนินการ มีความยุ่งยาก และข้อมูล
จากหลายแหล่ง ไม่ตรงกัน รวมทั้งข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูล และการแก้ปัญหาความล่าช้า
ทำได้ยาก
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาระบบการติดตามการดำเนินงานในส่วนของ colonoscopy เป็นไปอย่างรวดเร็ว
และติดตามได้อย่าง real time โดยผู้ปฏิบัติ ผู้บริหารทุกระดับ สามารถเข้าดูข้อมูลได้ตลอดเวลา ทำให้การ
ติดตามทำได้ง่าย และการแก้ไขปัญหาระยะเวลารอคอย ทำได้ทันที อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการด้วย
วิธีการศึกษา
จัดทำแนวทางการส่องตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง colonoscopy ในจังหวัดราชบุรี การส่ง
ข้อมูล การลงข้อมูล โดยผ่าน Web application RBH smartOR และนำข้อมูลจัดทำเป็น dashboard โดยใช้
โปรแกรม php และ JavaScrib ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จาก internet
ผลการศึกษา
- เริ่มใช้งานระบบ เดือน กันยายน 2566 ถึงปัจจุบัน
- จำนวนคนไข้ที่คัดกรอง FIT 5129 คน ได้ผลบวก 293 คน คิดเป็น 5.29%
- ได้รับการทำ colonoscopy แล้ว 236 คน คิดเป็น 80.53%
- พบติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ 87 คน คิดเป็น 36.86%
- พบมะเร็งลำไส้ใหญ่ 3 คน คิดเป็น 1.27%
- สามารถเข้าดู dashboard แบบ real time ได้ที่ https://smartcolono.rajburi.org
อภิปรายผล
การใช้ระบบดิจิทัล ในการเก็บข้อมูล และสร้าง dashboard แบบ real time ทำให้สามารถติดตาม
การดำเนินงานได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ