Page 630 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 630

P7


                                       การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม

                        : ปัจจัยที่มีผลต่อมุมการเคลื่อนไหวข้อไหล่  โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์


                                                                                               วนัชพร  จอมกัน
                                                                 โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เขตสุขภาพที่ 1
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญ
                          โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์มีผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดมะเร็งเต้านมประมาณ 200 รายต่อปี
                  งานกายภาพบำบัดได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาผู้ป่วยมาตลอด จากเดิมดูแลเฉพาะผู้ป่วยใน ซึ่งยัง

                  ไม่ครอบคลุม จึงได้ติดตามต่อเนื่องในผู้ป่วยนอกด้วย เมื่อติดตามผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านมเดือนแรก
                  ในปีงบประมาณ 2561-2564 พบปัญหาภาวะแทรกซ้อน คือ ภาวะข้อไหล่ติด ร้อยละ 3-5 ทำให้เกิดอุปสรรคใน
                  การใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย จึงได้ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวข้อไหล่ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดเต้านม การ

                  ผ่าตัดอย่างถอนรากดัดแปลง (Modified Radical Mastectomy : MRM) การผ่าตัดที่เนื้อเต้านมออกทั้งเต้า
                  (Total or Simple Mastectomy : TM or SM) การตัดเต้านมออกบางส่วน (Breast Conserving Surgery :
                  BCS)  เพื่อวางแผนการดูแลรักษา ป้องกันและลดภาวะข้อไหล่ติด

                  วัตถุประสงค์
                         เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อมุมการเคลื่อนไหวข้อไหล่ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ผ่าตัดด้วยวิธี MRM, TM

                  หรือ SM, BCS ภายในเดือนแรกหลังผ่าตัด
                  วิธีการศึกษา

                         เป็นการศึกษารูปแบบ Prospective Cohort Study ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม MRM, TM หรือ
                  SM, BCS เพศหญิง อายุมากกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่เดือนเมษายน-ธันวาคม 2565 และมาติดตามหลังผ่าตัด
                  ภายในเดือนแรก ณ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โดยเก็บข้อมูล

                  จากแบบบันทึกผู้ป่วยกายภาพบำบัด และแบบสอบถามอาสาสมัคร  ได้ติดตามครั้งแรก ณ หนึ่งสัปดาห์หลังการ
                  ผ่าตัด และติดตามครั้งที่ 2 ณ สามสัปดาห์หลังการผ่าตัด ข้อมูลที่ศึกษาได้แก่ ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ
                  โรคประจำตัว และข้อมูลพื้นฐานทางคลินิกของผู้ป่วย เช่นข้างที่ผ่าตัด ชนิดการผ่าตัด มุมการเคลื่อนไหวข้อไหล่
                  วัดก่อนจำหน่าย ลักษณะอาการปวด ตึง ชา ภาวะน้ำเหลืองคั่ง ความกังวลแผลฉีกหรือสายระบายสุญญากาศ

                  หลุด (Radivac drain)  แผลติดเชื้อ การบริหารข้อไหล่ การที่ผู้ป่วยคาสายระบายสุญญากาศกลับบ้าน
                  โดยแบ่งกลุ่มจากมุมการเคลื่อนไหวข้อไหล่ข้างที่ผ่าเต้านมครั้งล่าสุด ถ้ามุมการเคลื่อนไหวข้อไหล่น้อยกว่า
                  150 องศา คือกลุ่มมีปัญหาข้อไหล่ติด ถ้ามุมการเคลื่อนไหวข้อไหล่ 150 องศาขึ้นไป คือกลุ่มไม่มีปัญหา
                  ข้อไหล่ติด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติ t-test, exact probability test และ multivariable logistic

                  regression
   625   626   627   628   629   630   631   632   633   634   635