Page 631 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 631

P8


                  ผลการศึกษา

                          ผู้ป่วยทั้งหมด 144 ราย เข้าเกณฑ์การศึกษา 66 ราย กลุ่มมีปัญหาข้อไหล่ติด 39 ราย (ร้อยละ 59)
                  กลุ่มไม่มีปัญหาข้อไหล่ติด 27 ราย (ร้อยละ 41) ผลจากการติดตามครั้งแรกพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อมุม
                  การเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้แก่ มุมการเคลื่อนไหวข้อไหล่วัดก่อนจำหน่ายได้น้อยกว่า 120 องศา (Adjusted OR
                  1.56, 95%CI : 1.07-2.27, p=0.020) และการที่ผู้ป่วยมีความกังวลกลัวแผลฉีกหรือสายระบายสุญญากาศหลุด
                  (Adjusted OR 1.67, 95%CI : 0.96-2.89, p= 0.068) การติดตามครั้งที่ 2 พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อมุมการ

                  เคลื่อนไหวข้อไหล่ได้แก่ ผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 60 ปี (Adjusted OR 3.75, 95%CI : 1.58-8.88, p=0.003) และ
                  การบริหารข้อไหล่ไม่สม่ำเสมอ (Adjusted OR 3.75, 95%CI : 1.45-9.68, p=0.006)

                  อภิปรายผล
                         ปัจจุบันผู้ป่วยผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะคาสายระบายสุญญากาศกลับบ้านด้วย เพื่อลด
                  จำนวนวันนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ตามโปรแกรมผู้วิจัยให้ผู้ป่วยจัดท่าวางแขนสูงกว่าระดับหน้าอก และให้

                  บริหารท่ากำ-แบมือ งอ-เหยียดข้อศอกหลังกลับจากห้องผ่าตัด และเริ่มบริหารข้อไหล่ในวันแรกหลังผ่าตัด มี 5
                  ท่าดังนี้ ท่ายกแขนไปข้างหน้า (Shoulder forward flexion) ท่ากางแขนขึ้นเหนือศีรษะ(Shoulder
                  abduction) ท่าหมุนแขน (Shoulder rotation) ท่าไขว้หลัง (Hand behind back) ท่าหวีผม บริหารท่าละ

                  10 ครั้ง/รอบ วันละ 2 รอบ ในวันที่ 2 ถึงวันจำหน่าย ให้ผู้ป่วยทบทวนท่าบริหารเดิม และมีการวัดมุมการ
                  เคลื่อนไหวข้อไหล่ท่ายกแขนไปข้างหน้าก่อนจำหน่าย ผู้ป่วยยกแขนข้างได้น้อยกว่า 120 องศา และยังไม่
                  สามารถขยับข้อไหล่ได้ดี เพราะผู้ป่วยมีอาการตึงที่หน้าอก รักแร้ ต้นแขน และเกิดความกังวลกลัวแผลฉีกหรือ
                  สายระบายสูญญากาศหลุด บางรายไม่สามารถยกแขนถึงจุดที่ตึงเต็มที่ได้ ทำไม่ครบจำนวนครั้งที่กำหนด

                  และไม่ได้บริหารทุกท่า ซึ่งอาการตึงเกิดขึ้นเนื่องจากการผ่าตัดมีการเลาะพังผืดกล้ามเนื้อหน้าอกมัดใหญ่
                  ออก ทำให้เกิดการยึดระหว่างเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและกล้ามเนื้อ อาการจะยังคงอยู่ถ้าไม่บริหารข้อไหล่สม่ำเสมอ
                  ทุกวัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งเป็นผู้สูงอายุจำท่าบริหารข้อไหล่ไม่ได้ และบริหารไม่ถูกต้อง

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         ปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวข้อไหล่ คือผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ผู้ป่วยที่มีมุมการเคลื่อนไหว

                  ข้อไหล่วัดก่อนจำหน่ายน้อยกว่า 120 องศา  ผู้ป่วยมีความกังวลกลัวแผลฉีกหรือสายระบายสุญญากาศหลุด จะ
                  ให้โปรแกรมดูแลอย่างเข้มข้น (Intensive Program) ร่วมกับสหสาขา ประกอบด้วย การให้ความรู้ความเข้าใจ
                  เกี่ยวกับตัวโรคและการผ่าตัด การดูแลสายระบายสุญญากาศ การดูแลก่อนและหลังทางกายภาพบำบัดซึ่งได้

                  ปรับเปลี่ยนแนวปฏิบัติใหม่ การเข้ากลุ่มพูดคุยของผู้ป่วยด้วยกันและทีม ในตึกผู้ป่วย หรือการเข้ากลุ่มไลน์ การ
                  วางแผนจำหน่าย รวมถึงการติดตามต่อเนื่อง โดยนัดพร้อมแพทย์ หรือการติดตามทางโทรศัพท์ และการสอน
                  ญาติให้ดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และให้ผู้ป่วยบริหารข้อไหล่ทุกวัน
   626   627   628   629   630   631   632   633   634   635   636