Page 637 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 637
P14
กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้เลื่อนและการผ่าตัดนิ่วถุงน้ำดีผ่านกล้อง ในโรงพยาบาล
กำแพงเพชรที่มีสมาร์ทโฟนและยินยอมเข้าร่วมการติดตามตำแหน่งผ่าตัดและการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่ง
ผ่าตัด ขนาดกลุ่มตัวอย่างคำนวณจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 42 คน
ขั้นตอนการศึกษา
มีการพัฒนาเป็นวงรอบ มีทั้งหมด 3 วงรอบ แบ่งเป็น ระยะก่อนดำเนินการ (พฤษภาคม-กรกฎาคม
2566) ระยะที่ 1(สิงหาคม- ตุลาคม 2566) และระยะที่ 2 (พฤศจิกายน-ปัจจุบัน)
ระยะที่ 1
ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนงาน (Plan: P)
1. ประชุมทีมพยาบาล เพื่อวางแผนและชี้แจงวัตถุประสงค์การพัฒนาระบบการติดตามตำแหน่ง
ผ่าตัดและการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด
2. แจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานรับทราบถึงวัตถุประสงค์ของการพัฒนาระบบการติดตามตำแหน่ง
ผ่าตัดและการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด
3. จัดตั้งทีมพัฒนาระบบการติดตามตำแหน่งผ่าตัดและการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด
ประกอบด้วย พยาบาลควบคุมการติดเชื้อ พยาบาลควบคุมการติดเชื้อในหอผู้ป่วย และพยาบาลที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ 2 การนำไปปฏิบัติ (Do: D)
1. พัฒนาระบบการติดตามตำแหน่งผ่าตัดและการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด โดยใช้ Line
application
2. นำ Line application ทดลองการติดตามตำแหน่งผ่าตัดและการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่ง
ผ่าตัด
ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบและประเมินผล (Check: C)
บันทึกปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอกับทีมพัฒนางานได้รับทราบ
ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงการดำเนินการ (Act: A)
ประชุมทีมพัฒนางานเพื่อแจ้งผลการดำเนินการ รวมถึงปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น ระดมสมองเพื่อ
หาสาเหตุและแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาระบบให้ดีขึ้น หากพิจารณาแล้วต้องมีการปรับปรุงให้ดำเนินการ
ปรับปรุงโดยใช้กระบวนการพัฒนา PDCA (Plan-Do-Check-Act) ต่อไป
ระยะที่ 2
ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนงาน (Plan: P)
1. ประชุมชี้แจงปัญหาการติดตามตำแหน่งผ่าตัดและการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด
2. จัดทำ Line official, google form เก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไป และคำแนะนำการปฏิบัติตัวหลัง
ผ่าตัด
ขั้นตอนที่ 2 การนำไปปฏิบัติ (Do: D)
1. ประชุมให้ความรู้ชี้แจงขั้นตอนการติดตามตำแหน่งผ่าตัดและการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด
2. นำ Line official เก็บข้อมูลทั่วไป และติดตามตำแหน่งผ่าตัดและการเฝ้าระวังการติดเชื้อ
ตำแหน่งผ่าตัด
ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบและประเมินผล (Check: C)
1. ประชุมทบทวนและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้การปฏิบัติงาน
2. สอบถามปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะจากการปฏิบัติงาน
3. ติดตามความก้าวหน้าของผลงาน
ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงการดำเนินการ (Act: A)