Page 633 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 633
P10
เรื่อง พลาสมาอากาศเย็นนวัตกรรมใหม่ในการช่วยรักษาแผลเรื้อรัง
Cold air plasma, a new Innovative treatment of chronic wounds
พว.ศศิธร พิชัยพงศ์
โรงพยาบาลลำพูน เขตสุขภาพที่ 1
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหา
จากสถิติการดูแลรักษาแผลเรื้อรัง ศูนย์การดูแลแผลและออสโตมี โรงพยาบาลลำพูนปี2561 -2563
คือ 39 ราย 40 รายและ 49 ราย visitมาทำแผล 3,649 3,570 3,535 visitตามลำดับ พบปัญหาจากการ
จัดการแผลคือความก้าวหน้าของแผลคงเดิมเป็นเวลานานเกิน 2 เดือน ผู้ป่วยต้องมาทำแผลเป็นเวลานาน
สูญเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาทำแผลเฉลี่ยวันละ 150 บาท สูญเสียภาพลักษณ์และการใช้ชีวิตในสังคม
การประกอบอาชีพอีกทั้งเกิดความเครียดคิดเป็นร้อยละ 42.33 องค์กรรับภาระในการดูแลแผลต่อเนื่องยาวนาน
จากการทบทวนพบว่าการเพิ่มออกซิเจนให้แผลเรื้อรังจะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น จึงทำการสืบค้นเอกสาร
และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าจากการศึกษาการใช้พลาสมาอากาศเย็นในการรักษาแผลเรื้อรังได้ผลดี
ไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยหลักการคือ การใช้เครื่องผลิตพลาสมาอากาศจะได้สารอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์ต่อ
แผลได้แก่ อนุมูลไฮดรอกซิล (OH) อนุมูลออกไซด์ (O) โอโซน (O3) ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) ทำหน้าที่
ในการทำลายผนังเซลล์ เยื้อหุ้มเซลล์ และ องค์ประกอบภายในเซลล์ เช่น DNA ของเซลล์แบคทีเรียจึงสามารถ
ทำลายเซลล์แบคทีเรียโดยที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่เซลล์หรือเนื้อเยื่อของแผล อนุมูลไนตริกออกไซด์ (NO)
ที่เป็นอนุมูลที่ทำหน้าที่เป็นโมเลกุลส่งสัญญาณของเซลล์กระตุ้นเซลล์ (cell stimulation) เช่น กระตุ้นการเพิ่ม
จำนวนของเซลล์ (cell proliferation) และการเคลื่อนที่ของเซลล์ (cell migration) การสร้างเส้นเลือดใหม่
(angiogenesis) การสังเคราะห์คอลลาเจน (collagen synthesis) เพื่อซ่อมแซมผิวหนังที่เสียหาย (พุฒิธร
ธะนะและธีรวรรณ บุญญวรรณ, 2562)
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อพัฒนาการรักษาแผลเรื้อรังด้วยพลาสมาอากาศเย็นในกลุ่มผู้ป่วยแผลเรื้อรังที่มาทำแผลต่อเนื่อง
ที่ศูนย์การดูแลแผลและออสโตมี
วิธีการศึกษา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มวัดก่อน-หลัง (pretest-posttest only one
group design) เพื่อเปรียบเทียบผลของการรักษาแผลเรื้อรังด้วยพลาสมาอากาศเย็น โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่
ผู้ป่วยแผลเรื้อรังที่ดูแลแผลต่อเนื่องที่ศูนย์การดูแลแผลและออสโตมีด้วยวิธี advance wound dressing แล้ว
ความก้าวหน้าของแผลคงเดิมเป็นเวลานานเกิน 2 เดือน(ในระยะเวลา 2 เดือนแผลแคบเข้าน้อยกว่า 2 ซม.)
กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ โปรแกรม GPower_3.1.9.7 โดยการกำหนด Effect size = 0.05 และค่า
ความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0.05 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 Total sample size =36 คนและเพื่อป้องกัน
การสูญหายตัวอย่างระหว่างศึกษา ผู้วิจัยจึงกำหนดจำนวนกลุ่มสูญหายร้อยละ 15 ของ total sample size
ดังนั้นขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดคือ 42 ราย