Page 638 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 638

P15


                             1. สรุปผลการดำเนินงาน

                             เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ โปรแกรมการติดตามและเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด
                  และแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป

                  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
                         1. พยาบาลควบคุมการติดเชื้อในหอผู้ป่วย/พยาบาลในหอผู้ป่วย จัดทำทะเบียนผู้ป่วยที่ยินยอมเข้าร่วม
                  การติดตามตำแหน่งผ่าตัดและการเฝ้าระวังการติดตามตำแหน่งผ่าตัดด้วยการพยาบาลทางไกลผ่านทาง

                  google form พร้อมกับเตรียมความพร้อมและซักซ้อมการใช้ Line official เมื่อถึงวันนัด พยาบาลควบคุม
                  การติดเชื้อให้การพยาบาลทางไกลโดยใช้ Line official ในการติดตามตำแหน่งผ่าตัดและการเฝ้าระวัง
                  การติดตามตำแหน่งผ่าตัด โดยการซักถามอาการ การปฏิบัติตัว และอาการผิดปกติ พร้อมกับสอบถามปัญหา
                  การดูแลตำแหน่งผ่าตัด ให้คำแนะนำเพิ่มเติม และเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามที่ผู้ป่วยและญาติ

                  ที่ประเมิน
                         2. หลังจำหน่าย 3 วัน และหลังวันตัดไหม พยาบาลควบคุมการติดเชื้อให้การพยาบาลทางไกลโดยใช้
                  Line official ในการติดตามตำแหน่งผ่าตัดและการเฝ้าระวังการติดตามตำแหน่งผ่าตัด หลังจากนั้นประเมิน

                  ลักษณะตำแหน่งผ่าตัด
                  ผลการศึกษา

                         ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้เลื่อน และการผ่าตัดนิ่วถุงน้ำดีผ่านกล้อง ได้รับการติดตามและเฝ้าระวัง
                   การติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดหลังจำหน่ายด้วยระบบการพยาบาลทางไกล ในวันที่ 3 หลังจำหน่าย คิดเป็น ร้อยละ
                   83.33 และหลังตัดไหม คิดเป็นร้อยละ 71.43 ลักษณะแผลผ่าตัดวันที่ 3 หลังจำหน่าย พบว่าแผลผ่าตัดแห้ง

                   ไม่บวม แดงร้อน คิดเป็นร้อยละ 73.81 และหลังตัดไหมลักษณะแผลผ่าตัดแห้ง คิดเป็นร้อยละ 100
                  อภิปรายผล

                      จากผลการศึกษาในครั้งนี้ พบว่าการพัฒนาระบบการติดตามตำแหน่งผ่าตัดและการเฝ้าระวังการติดเชื้อ
                  ตำแหน่งผ่าตัดหลังจำหน่ายด้วยระบบการพยาบาลทางไกล โดยการใช้ Line official ในการติดตามและเฝ้า
                  ระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด อีกทั้งใช้ในการสื่อสาร ทำให้เกิดการเสริมสร้างพลังอำนาจในการดูแลตนเอง

                  ทำให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติตัวและดูแลตนเองหลังผ่าตัดได้ถูกต้อง ไม่พบการติดเชื้อ
                  ตำแหน่งผ่าตัดและภาวะแทรกซ้อนจากการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงช่วยลดระยะเวลาในการเดินทาง
                  ลดระยะการรอคอย และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การพยาบาลทางไกลจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่
                  สำคัญในสภาวะการณ์ในปัจจุบัน และมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการติดตามการรักษาพยาบาลเพื่อให้เข้าถึง

                  บริการตามมาตรฐาน

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         การพยาบาลทางไกล สามารถเพิ่มอัตราการติดตามตำแหน่งผ่าตัดและเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่ง
                  ผ่าตัดหลังจำหน่ายได้ อีกทั้งเป็นช่องทางให้ผู้ป่วยและญาติปรึกษาในกรณีที่พบปัญหา มีข้อสงสัยในการปฏิบัติ
                  ตัว ทำให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ถูกต้อง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ช่วยลดระยะเวลาในเดินทาง

                  ลดระยะการรอคอย และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
                         ข้อเสนอแนะ
                         สำหรับการศึกษาในครั้งนี้การติดตามตำแหน่งผ่าตัดและการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดยังไม่
                  ครอบคลุมตามเกณฑ์การวินิจฉัยการติดเชื้อ ต้องพัฒนาระยะการติดตามภายใน 30 วันเพื่อให้ครอบคลุมตาม

                  เกณฑ์การวินิจฉัยการติดเชื้อ
   633   634   635   636   637   638   639   640   641   642   643