Page 636 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 636
P13
การพัฒนาระบบการติดตามตำแหน่งผ่าตัดและการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด
หลังจำหน่ายด้วยระบบการพยาบาลทางไกล
ศุภลักษณ์ อุณฑพันธุ์, ฐิติมาน แก้วขาว และวิลาวัณย์ จงมีความสุข
โรงพยาบาลกำแพงเพชร เขตสุขภาพที่ 3
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
การผ่าตัดเป็นการรักษาที่มีความสำคัญ ในปัจจุบันมีผู้เข้ารับการผ่าตัดจำนวนมากขึ้น ซึ่งความก้าวหน้า
เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่นำมาใช้ในการผ่าตัดมีความทันสมัย ส่งผลทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ
ตามมาตรฐานและผู้ป่วยมีความปลอดภัยสูง ถึงอย่างไรก็ตามภายหลังการผ่าตัดพบภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้
บ่อย คือ การติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด ซึ่งการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทำให้สูญเสียค่าใช้จ่าย
ในการรักษาเพิ่มขึ้น ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น และหากมีอาการรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้
กลุ่มงานการพยาบาลด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลกำแพงเพชร มีระบบ
การ ติดตามตำแหน่งผ่าตัดและเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดตามรายหัตถการ จากการดำเนินการ
ที่ผ่านมามีการติดตามตำแหน่งผ่าตัดหลังจำหน่ายด้วยไปรษณียบัตร แต่พบว่าการตอบกลับของไปรษณียบัตร
น้อยและล่าช้า หากผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดทำให้การรักษาล่าช้า และต้องเสียเวลาในการเดินทาง
มาโรงพยาบาลอาจส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยได้
การพยาบาลทางไกล คือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการแพทย์ผ่านระบบโทรคมนาคม ในการ
ให้บริการทางการพยาบาล การให้คำปรึกษาและแนะนำการดูแลตนเองหลังผ่าตัด รวมถึงการสังเกตอาการ
ผิดปกติหลังผ่าตัด ผู้ป่วยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเข้ามารับบริการในโรงพยาบาล ดังนั้น กลุ่มงาน
การพยาบาลด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลกำแพงเพชร ในฐานะผู้รับผิดชอบในการ
ควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล จึงได้พัฒนาระบบการติดตามตำแหน่งผ่าตัดและการเฝ้าระวัง
การติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดหลังจำหน่ายด้วยระบบการพยาบาลทางไกล ทำให้การติดตามตำแหน่งผ่าตัด
และการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดสะดวก รวดเร็ว และยังเป็นการสื่อสารแบบสองทาง (two way
communications) สามารถโต้ตอบและเห็นตำแหน่งผ่าตัดเสมือนการมารับบริการจริงที่โรงพยาบาล ซึ่งช่วย
ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้ และผู้ป่วยมีความปลอดภัย
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อเพิ่มอัตราการติดตามและเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดหลังจำหน่ายด้วยระบบการพยาบาล
ทางไกล
วิธีการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาระบบการติดตามตำแหน่งผ่าตัดและการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด
หลังจำหน่ายด้วยระบบการพยาบาลทางไกล โดยใช้กระบวนการ PDCA “Deming Cycle” (Plan-Do-Check-
Act) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนงาน (Plan: P) ขั้นตอนที่ 2 การนำไปปฏิบัติ (Do:
D) ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบและประเมินผล (Check: C) และขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงการดำเนินการ (Act:
A)