Page 677 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 677
P54
รุ่นที่ 1 หมอนรองหนุนคอ มีแนวคิดมาจากหมอนเด็กเล็ก ทำจากสำลีสงเคราะห์
ได้นำมาใช้รองศีรษะผู้ป่วยขณะผ่าตัดตา ขนาด 20x35 cm. ข้อดี มีความนุ่ม น้ำหนักเบา แต่ยังพบว่าศีรษะ
ผู้ป่วยไม่อยู่นิ่งขณะผ่าตัด ยังพบอัตราการเลื่อนผ่าตัดร้อยละ 65 จึงพัฒนามาเป็นรุ่นที่ 2
รุ่นที่ 2 นำผ้ายางมาวัดออกแบบเป็นรูปทรงกลม และตัดและเย็บตามแบบบรรจุนุ่น
เข้าไป และเย็บสอยปิด ขนาดของนวัตกรรม 28x28 cm. เส้นผ่าศูนย์กลาง 14 cm. นำไปทดลองหนุนพบว่า
หมอนมีขนาดใหญ่เกินไป ไม่กระชับศีรษะของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยขยับศีรษะไปมาขณะผ่าตัดได้ ยังพบอัตราการ
เลื่อนผ่าตัดร้อยละ 35 จึงพัฒนามาเป็นรุ่นที่ 3
รุ่นที่ 3 จากปัญหาใช้นวัตกรรมรุ่นที่ 2 พบว่าหมอนมีขนาดใหญ่เกินไป ไม่กระชับศีรษะของผู้ป่วย
ผู้ทำนวัตกรรมจึงออกแบบรุ่นที่ 3 คือ การปรับขนาดให้เล็กลง ขนาดของนวัตกรรม 24x24 cm.
เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 cm. นำไปทดลองใช้พบว่านวัตกรรมมีความกระชับกับศีรษะของผู้ป่วย ผู้ป่วยสุขสบาย
ขณะผ่าตัด ไม่ขยับศีรษะไปมา เป็นขนาดมาตรฐาน สามารถใช้ได้กับเด็กและผู้ใหญ่ อัตราการเลื่อนผ่าตัดลดลง
ร้อยละ 1 นวัตกรรมหมอนวิเศษผลิตจากวัสดุจากธรรมชาติ (นุ่น) น้ำหนักเบา ราคาถูกกว่ายางพารา มีความ
ยืดหยุ่น ไม่ยุบตัว ปลอดภัยไร้สารเคมี แข็งแรง ใช้งานได้หลายครั้ง ทำความสะอาดง่าย ต้นทุนการผลิตต่ำ
คิดเป็นมูลค่า ชิ้นละ 40 บาท
รุ่นที่ 1 รุ่นที่ 2 รุ่นที่ 3
1.3 ศึกษาผล (Check) ประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพบว่าแพทย์
และบุคลากรทางการพยาบาล มีอัตราความพึงพอใจอยู่ในระดับสูงร้อยละ 98 และประเมินอัตราการเลื่อน
ผ่าตัด จากเดิมร้อยละ 20 ปัจจุบันลดลงเหลือร้อยละ 1
1.4 การสร้างมาตรฐาน ( Act ) นำสิ่งประดิษฐ์เผยแพร่ให้แก่หน่วยงานอื่นที่มีลักษณะงานคล้ายกัน
เช่น ห้องผ่าตัดส่องกล้องลำไส้ (colonoscopy) ห้องผ่าตัดเล็กแผนกตา (OPD ตา) เป็นต้น
ผลการศึกษา
1. ด้านผู้ป่วย
ป้องกันการบาดเจ็บอวัยวะข้างเคียง เนื่องจากศีรษะของผู้ป่วยไม่อยู่นิ่งขณะผ่าตัดลดอัตรา
การเลื่อนผ่าตัด และการผ่าตัดซ้ำจากเลนส์เคลื่อน
2. ด้านผู้ให้บริการ
จากการประเมินพบว่า จักษุแพทย์ พยาบาล ผู้ใช้งาน มีระดับความพึงพอใจในทุกรายการอยู่
ที่ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 99% นวัตกรรม “หมอนวิเศษ” จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการผ่าตัดสะดวก
มากขึ้น