Page 679 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 679
P56
ผลลัพธ์ทางคลินิกของการใช้นวัตกรรม“ลูกเต๋าน้อย ร้อยเรียงทิ้ว”
กานต์ทิมา แขนอก, พัชรีภรณ์ พงศ์วศิน
โรงพยาบาลอำนาจเจริญ เขตสุขภาพที่ 10
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ท่อช่วยหายใจถือเป็นหัวใจสำคัญในการให้บริการด้านวิสัญญี โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ผ่าตัดบริเวณลำคอ
ที่วิสัญญีจะต้องให้การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย (General anesthesia with endotracheal tube)
หากท่อช่วยหายใจถูกกดทับหรือดึงรั้งจากแพทย์ผ่าตัดและผู้ร่วมทีมผ่าตัด จะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะพร่อง
ออกซิเจนได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยครั้งระหว่างการผ่าตัดไทรอยด์ พบว่าระหว่างการผ่าตัดแพทย์ผู้ผ่าตัด
มีโอกาสจะกดทับบริเวณท่อช่วยหายใจ ทำให้ท่อช่วยหายใจเกิดการหักพับงอ การควบคุมการหายใจเป็นไปได้
ด้วยความยากลำบาก เกิดแรงดันทางเดินหายใจส่วนต้นเพิ่มสูงขึ้นที่อาจเสี่ยงต่อภาวะ Pneumothorax
และเกิดค่าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจขณะหายใจออกคั่งจนผู้ป่วยเกิดภาวะพร่อง
ออกซิเจน หากรุนแรงอาจมีภาวะ Metabolic acidosis และเสียชีวิตได้ในที่สุด ซึ่งจากการเก็บสถิติตัวชี้วัด
พบว่า ปี พ.ศ. 2563,2564 และ 2565 มีจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดของต่อมไทรอยด์และ/หรือส่วนอื่น
ของต่อมไทรอยด์ออก จำนวน 58, 31 และ 42 รายตามลำดับ และมีอุบัติการณ์เกิดภาวะพร่องออกซิเจน
ท่อช่วยหายใจหักพับงอ เฉลี่ย 30%, 35% และ 40% ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งการเกิดภาวะหักพับงอของท่อช่วย
หายใจ ทีมวิสัญญีจะต้องเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหานั้นอย่างทันที ทำให้อัตราการเกิดภาวะพร่องออกซิเจน
รุนแรงน้อย จากปัญหาดังกล่าว เพื่อป้องกันการหักพับงอของท่อช่วยหายใจระหว่างผ่าตัด ที่อาจทำให้เป็น
ปัญหาระหว่างผ่าตัด(แพทย์ต้องหยุดทำการผ่าตัด)และผู้ป่วยเกิดภาวะพร่องออกซิเจนรุนแรงนั้น ผู้จัดทำ
เล็งเห็นว่าเป็นปัญหาที่สำคัญมาก จึงได้คิดค้นนวัตกรรม “ลูกเต๋าน้อย ร้อยเรียงทิ้ว” ขึ้นมา ซึ่งออกแบบให้เป็น
ทรงสี่เหลี่ยมนุ่มไว้สำหรับรองท่อช่วยหายใจและเหมาะกับสรีระส่วนศีรษะของผู้ป่วย แนวคิดนี้ต้องการป้องกัน
ปัญหาการหักพับงอของท่อช่วยหายใจ ป้องกันผู้ป่วยเกิดภาวะพร่องออกซิเจนขณะผ่าตัด และพัฒนา
ประสิทธิภาพการปฏิบัติการพยาบาลทางด้านวิสัญญีให้ดีขึ้น เพื่อเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยให้มากที่สุด
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อป้องกันการเกิดการหักพับงอ และเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจขณะผ่าตัดบริเวณคอ ป้องกันภาวะ
พร่องออกซิเจนของผู้ป่วยขณะผ่าตัด
วิธีการศึกษา
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนวัตกรรม “ลูกเต๋าน้อย ร้อยเรียงทิ้ว” และประเมินประสิทธิภาพ
และพัฒนานวัตกรรม วิธีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ประยุกต์ใช้วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) ซึ่งมีกิจกรรมที่
เกี่ยวข้อง 4 ขั้นตอน คือ PDCA (Plan, Do, Check and Act) ที่เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพ
และคุณภาพในการดำเนินงานขององค์กร มีขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม “ลูกเต๋าน้อย ร้อยเรียงทิ้ว” ดังนี้
1. การวางแผน (Plan): รวบรวมข้อมูลปัญหา ความต้องการจากการให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย
ในผู้ป่วยผ่าตัดไทรอยด์ของวิสัญญีแพทย์ และวิสัญญีพยาบาล และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับผู้ป่วย ประชุม