Page 678 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 678

P55


                         3. ด้านระบบบริการ
                                จากปัญหาผู้ป่วยไม่อยู่นิ่งขณะผ่าตัด ทำให้แพทย์ไม่สามารถผ่าตัดได้ จำเป็นต้องเลื่อนการ
                  ผ่าตัดออกไป ซึ่งส่งผลต่อผู้ป่วยเสียโอกาสในการผ่าตัดครั้งนั้น ต้องไปจับบัตรคิวใหม่ และในเรื่องระยะเวลาการ
                  นอนโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นและการเตรียมหยอดยาขยายรูม่านตาเพื่อเตรียมผ่าตัด (คิดเป็นเงินวันละ 1,000 บาท)

                  หรือบางรายแพทย์จะเปลี่ยนวิธีการให้ยาระงับความรู้สึกเป็นการดมยาสลบ  (คิดเป็นเงินชั่วโมงละ1,600 บาท)

                  อภิปรายผล
                         อุปกรณ์ "หมอนวิเศษ" เป็นนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ที่สามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับ
                  ผู้ป่วยขณะผ่าตัดได้ดี  จากผลการเฝ้า ติดตามการผ่าตัด 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566 จำนวน 50 คน
                  ไม่พบภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัด ซึ่งก่อนที่จะมีนวัตกรรม มีอุบัติการณ์เกิดภาวะเลนส์เคลื่อน การทำลาย

                  อวัยวะข้างเคียงจากการผ่าตัด การลดอัตราการเลื่อนผ่าตัด และการเปลี่ยนเป็นวิธีดมยาสลบเฉลี่ย 25 % ต่อปี
                  ปัจจุบันลดลงเหลือ 1 % ต่อปี "หมอนวิเศษ" เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาในงานประจำที่ตรง
                  ประเด็นและต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ง่าย สะดวก ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับผู้ป่วยขณะผ่าตัด

                  ได้
                  สรุปข้อเสนอแนะ

                         "หมอนวิเศษ" เป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากการมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการห้อง
                  ผ่าตัดตา และปัจจุบันได้นำไปใช้ในการผ่าตัดสาขาต่างๆ เช่น แผนก ศัลยกรรมทั่วไป ใช้ในการจัดท่าผู้ป่วย
                  ผ่าตัดส่องกล้องลำไส้ (colonoscopy) ซึ่งจะทำในท่านอนตะแคงซ้าย อาจเกิดภาวะพร่องออกซิเจนในผู้ป่วย

                  ขณะผ่าตัด , ใบหูของผู้ป่วยถูกกดทับ และเกิดเป็นรอยแดง ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้
                         แนวคิดนี้ต้องการป้องกันภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัด เช่น ภาวะเลนส์เคลื่อน การทำลายอวัยวะ
                  ข้างเคียงจากการผ่าตัด อัตราการเลื่อนผ่าตัดและการเปลี่ยนเป็นวิธีดมยาสลบ ซึ่งเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพ
                  การปฏิบัติการพยาบาลให้ดีขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย และสามารถลดต้นทุนของโรงพยาบาลได้

















                         ภาพการใช้นวัตกรรม"หมอนวิเศษ" ในผู้รับบริการผ่าตัดแผนกจักษุ และผ่าตัดส่องกล้องลำไส้
   673   674   675   676   677   678   679   680   681   682   683