Page 673 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 673
P50
Step bar hanging for Adenotonsillectomy
ชาติชาย นินนานนท์, สุกัญญา ยิ้มนวล และคณะ
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เขตสุขภาพที่ 9
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหา
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาเป็นสถาบันการแพทย์ระดับตติยภูมิที่มีอัตราการครองเตียง
เป็นอันดับ1ของกระทรวงสาธารณสุข ให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนในจังหวัดนครราชสีมาและเป็น
โรงพยาบาลแม่ข่ายการรับ - ส่งต่อ ในเขตสุขภาพที่ 9 และจังหวัดใกล้เคียงปีงบประมาณ 2563 – 2566
ห้องผ่าตัดหูคอจมูกให้บริการผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอดีนอยด์จำนวน 319 ราย โดย 60% ของผู้ป่วยเป็น
กลุ่มผู้ป่วยเด็กอายุ 2 – 15 ปี และ 40% เป็นกลุ่มผู้ป่วยอายุ 16 ปีขึ้นไป ในการทำผ่าตัดนั้นสิ่งสำคัญคือการจัด
ท่าผู้ป่วยถ่างเปิดช่องปาก ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนจะมีทรวงอกที่ใหญ่ต้องปรับระดับของMayo stand ให้มีระดับ
ที่สูงขึ้นกว่าปกติ และในผู้ป่วยเด็กจะมีช่องปากที่แคบกว่าผู้ใหญ่จำเป็นต้องปรับระดับ Mayo stand ให้มีระดับ
ที่ต่ำลงมามากๆ เพื่อจะสามารถแขวน Tongue depressor ถ่างขยายช่องปากให้ผ่าตัดได้ ทั้งสองกรณีทำให้
Mayo stand กดส่วนของ Endotracheal tube ที่วางอยู่บนทรวงอกของผู้ป่วยเกิด Airway pressure สูงขึ้น
ประสิทธิภาพการดมยาระงับความรู้สึกลดลง มีการบาดเจ็บต่อทรวงอกและปอด จากปัญหาที่พบ ทีมพยาบาล
ห้องผ่าตัดหูคอจมูก จึงได้คิดประดิษฐ์เพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยความร่วมมือระหว่างศัลยแพทย์หูคอจมูก พยาบาลห้องผ่าตัด และวิสัญญี
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการกดทับของ Endotracheal tube และการบาดเจ็บต่อทรวงอก
และปอดจากการจัดท่าเพื่อถ่างขยายช่องปากให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วย
วิธีการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาลเพื่อใช้ในการผ่าตัดผู้ป่วยต่อมทอนซิล
และต่อมอะดีนอยด์ ประชากรที่ศึกษาได้แก่ผู้ป่วยเด็กเล็กอายุ 2-10 ปี และผู้ป่วยที่มี BMI ตั้งแต่ 25.0
ที่รับการผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ที่ห้องผ่าตัดหูคอจมูก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
ศัลยแพทย์โสต นาสิก ลาลิงค์วิทยาจำนวน 10 คน พยาบาลห้องผ่าตัดจำนวน 25 คน วิสัญญีแพทย์ จำนวน
5 คน วิสัญญีพยาบาลจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินการเฝ้าระวังภาวะ
Airway pressure สูง และแบบประเมินความพึงพอใจของทีมผ่าตัด ใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ความถี่ค่าเฉลี่ย
และร้อยละ
ขั้นตอนการพัฒนา ดำเนินการกิจกรรมโดยใช้หลักการ (PDCA) ดังนี้
1. สำรวจศึกษาข้อมูลปัญหาอุปสรรคการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ในผู้ป่วย
เด็กเล็กและผู้ป่วยโรคอ้วน ระยะ 1 ปีที่ผ่านมา
2. ประชุมทีมผู้ทำการศึกษาเพื่อวิเคราะห์แนวทางการทำงาน มอบหมายหน้าที่
3. ประชุมทีมผู้ดูแลร่วมกับศัลยแพทย์โสต นาสิก ลาลิงค์วิทยาเสนอแนวทางการดูแลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ร่วมกันปรับปรุงแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย