Page 680 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 680
P57
ปรึกษา เสนอความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางป้องกัน แก้ไขคิดค้น และชี้แจงเหตุผลการใช้นวัตกรรม พร้อมบอก
แนวทางในการปฏิบัติต่อบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แนวปฏิบัติไปในทางเดียวกัน
2. ปฏิบัติตามแผน (Do)ทดลองใช้กับผู้มารับบริการ
รุ่นที่ 1 รุ่นที่ 2 รุ่นที่ 3
การจัดท่าแบบปกติ(ดั้งเดิม) การจัดท่าแบบใช้นวัตกรรม
รุ่น 1 นำเศษแผ่นฟองน้ำมาใส่ในถุงที่มีขนาดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 15x30x15ซ.ม. ตามรูปแบบ
ที่ออกแบบไว้ทดสอบประสิทธิภาพ พบว่ามีขนาดใหญ่ไม่พอดีเกิดการกดทับบริเวณตา ความนุ่มไม่เหมาะสม
ยังพบท่อช่วยหายใจหักพับงอจึงได้พัฒนามาเป็น รุ่นที่ 2 โดยนำฟองน้ำมาทำให้มีขนาดเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า
ขนาด 15x15x15 ซ.ม.ห่อด้วยพาสติก ทดสอบประสิทธิภาพ พบว่าขนาดเหมาะสม ไม่พบภาวะกดทับบริเวณ
ตาแต่ทำความสะอาดยากและตำแหน่งรองท่อช่วยหายใจยังเคลื่อน พบท่อช่วยหายใจหักพับงอ จึงได้พัฒนามา
เป็นรุ่นที่ 3 ขึ้น โดยนำผ้ายางรองกันเปื้อนที่มีความนุ่มที่ขาด(ไม่ใช้แล้ว) มาวัดขนาดเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า ขนาด
10x10x10ซ.ม.และตัดตามรูปแบบที่ออกแบบไว้เพื่อรองบริเวณท่อช่วยหายใจผู้ป่วยเย็บตามรูปทรงที่ได้และใส่
ฟองน้ำ เพื่อให้เกิดความนุ่มและมั่นคง เมื่อรองท่อช่วยหายใจแล้วไม่ยุบให้เป็นรูปทรงที่ออกแบบไว้และเพิ่มสาย
รัดท่อช่วยหายใจป้องกันการเคลื่อนของท่อช่วยหายใจทดสอบประสิทธิภาพ พบว่า อุปกรณ์ขนาดพอดี ไม่เกิด
ภาวะกดทับตา ความนุ่มเหมาะสมท่อช่วยหายใจอยู่ในแนวตรง ไม่หักพับงอ ไม่ยุบ ทำความสะอาดง่าย
3.ศึกษาผล (Check) : ประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยประเมินจากผู้ใช้งาน พบว่า
รุ่นที่ 1 รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแต่ยังพบว่าขนาดใหญ่ไป และเกิดภาวะกดทับที่ตาและท่อช่วยหายใจยังหักพับงอ
จึงมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงอุปกรณ์และพัฒนามาเป็นรุ่นที่ 2 ซึ่งออกแบบให้มีขนาดเล็กลงและปรับรูปร่างให้
เป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า ซึ่งสามารถรองรับท่อช่วยหายใจได้ไม่เกิดภาวะกดทับตาแต่ยังพบว่ามีการเลื่อนและหักพับ
งอของท่อช่วยหายใจจึงได้พัฒนามาเป็นรุ่นที่ 3 โดยปรับขนาดให้เล็กลงเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าขนาด 10x10x10 ซ.
ม.และเย็บสายรัดท่อช่วยหายใจด้วย หลังพัฒนานวัตกรรมแล้วพบว่าไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนการหักพับงอท่อ
ช่วยหายใจ ภาวะกดทับที่ตาในผู้ป่วยอีก อัตราความพึงพอใจอยู่ในระดับสูงร้อยละ 100 การทำลายอวัยวะ
ข้างเคียง และภาวะพร่องออกซิเจนเกิดร้อยละ 0 4.การสร้างมาตรฐาน (Act): นำสิ่งประดิษฐ์ “ลูกเต๋าน้อย
ร้อยเรียงทิ้ว”เผยแพร่ให้แก่หน่วยงานอื่นที่มีลักษณะงานคล้ายกันโดยนำไปใช้ในผู้ป่วยผ่าตัดแผนกอื่นๆเช่น
ผู้ป่วยผ่าตัดกระดูก
ผลการศึกษา
1. ด้านผู้รับบริการ :นวัตกรรมชิ้นนี้สามารถป้องกันภาวะหักพับงอของท่อช่วยหายใจขณะผ่าตัด
ได้สามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับผู้ป่วยขณะผ่าตัดคือภาวะพร่อง-ออกซินขณะผ่าตัดได้อุปกรณ์มีความ