Page 682 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 682

P59


                         ผลลัพธ์ทางคลินิกของการใช้นวัตกรรม “ที่เก็บแขนจัดท่าสำหรับผู้ป่วยผ่าตัด”



                                                                                            พัชรีภรณ์   พงศ์วศิน
                                                                          โรงพยาบาลอำนาจเจริญ เขตสุขภาพที่ 10
                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์



                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         หน่วยงานห้องผ่าตัดเป็นหน่วยงานที่ให้บริการโดยการผ่าตัดใหญ่ ผ่าตัดเล็ก การจัดท่าผู้ป่วยในการ
                  ทำผ่าตัดเป็นหนึ่งในกิจกรรมการพยาบาลโดยการจัดท่าในการผ่าตัดนั้นต้องพิจารณาว่ามีผลต่อสรีรวิทยา
                  ของผู้ป่วยอย่างไร พิจารณาความถูกต้องตามหลักกายวิภาค (body alignment) ความสะดวกรวดเร็วในการ

                  เฝ้าระวังและช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน และมีความเหมาะสมกับผู้ป่วยรายนั้นๆหรือไม่โดยเฉพาะการผ่าตัด หู คอ
                  จมูก จำเป็นต้องถอดที่วางแขนผู้ป่วยออกและเก็บแขนแนบลำตัวเพื่อสะดวกในการผ่าตัดได้และเป็นท่าที่ใช้
                  มากที่สุดในการผ่าตัดหู คอ จมูก ดังนั้นจำเป็นต้องจัดท่าให้ถูกต้องคือ ตรงตำแหน่งไหล่และข้อศอกทั้งสองข้าง

                  ควรอยู่ในระดับลำตัวกางออกไม่เกิน 90 องศา เพื่อไม่ให้เกิดการดึงรั้งของกลุ่มประสาท Brachial plexus ulna
                  nerve และ radial nerve เพื่อป้องกันการบาดเจ็บเส้นประสาทดังกล่าว จึงจำเป็นต้องเก็บแขนผู้ป่วยแนบ
                  ลำตัว จากการให้บริการพบปัญหาคืออุปกรณ์เตียงผ่าตัดในการเก็บแขนผู้ป่วยจะไม่มีเดิมต้องใช้ผ้าในการ
                  เก็บแขนผู้ป่วยซึ่งปัญหาที่พบคือมีการเลื่อนหลุดของสายน้ำเกลือ และวิสัญญีไม่สะดวกในการให้ยาระงับ
                  ความรู้สึก ขณะผ่าตัดเกิดการกดบริเวณแขน ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะแผลกดทับเนื่องจากมีการกดเบียดแขนผู้ป่วย

                  ผลต่อระบบไหลเวียนเลือดโดยมีผลปริมาตรเลือดที่ไหลกลับหัวใจ อัตราการเต้นของหัวใจและ cardiac
                  output ลดลง หรือผู้ป่วยตัวใหญ่มากแขนผู้ป่วยจะล้นขอบเตียงผ่าตัดทำให้แขนผู้ป่วยเกิดร่วงได้ทำให้เสี่ยงต่อ
                  อุบัติเหตุแขนหักและในปี 2565 เกิดแผลกดทับจากการจัดท่าผู้ป่วย 36 ครั้ง (ร้อยละ 14.81) สายน้ำเกลือหลุด

                  ขณะผ่าตัด 98 ครั้ง (ร้อยละ 40.32) ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับยาระงับความรู้สึก ผู้ป่วยรู้สึกตัวขณะผ่าตัดเกิด
                  อุบัติเหตุขณะผ่าตัดได้ ดังนั้นจึงประดิษฐ์นวัตกรรมนี้ขึ้น

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัด ลดอุบัติเหตุจากการจัดท่าผู้ป่วยและลดแผลกดทับจากการจัดท่า
                  ผ่าตัด และป้องกันอุบัติเหตุต่อผู้ป่วยขณะผ่าตัด สะดวกในการใช้งาน

                  วิธีการศึกษา

                         วิธีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์: ประยุกต์ใช้วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) ซึ่งมี กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
                  4 ขั้นตอน คือ PDCA (Plan, Do, Check and Act) ที่เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนา ประสิทธิภาพ
                  และคุณภาพในการดำเนินงานขององค์กร มีขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม “ที่เก็บแขนจัดท่าสำหรับผู้ป่วย
                  ผ่าตัด” ดังนี้ การวางแผน(Plan) รวบรวมข้อมูลปัญหากับแพทย์และพยาบาลห้องผ่าตัด อุบัติการณ์การเกิด

                  ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย สร้างนวัตกรรมโดยการประดิษฐ์ ที่เก็บแขนจัดท่าสำหรับผู้ป่วยผ่าตัด,ประชุม
                  และบอกแนวทางในการปฏิบัติต่อบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ปฏิบัติไปในทางเดียวกัน ปฏิบัติตามแผน (Do)
                  โดยทดลองใช้กับผู้มารับบริการ , ออกแบบรูปร่างของนวัตกรรม นำแผ่นเหล็กสเตลเลสมาตัดและดัดให้ตรงตาม
                  รูปแบบที่ออกแบบไว้ ศึกษาผล (Check) โดยประเมินจากผู้ใช้งานพบว่าที่เก็บแขนจัดท่าสำหรับผู้ป่วยผ่าตัด

                  รุ่นที่ 1 ยังพบว่าขนาดเล็กไปเนื่องจากเก็บเฉพาะข้อมือผู้ป่วย หรือบางครั้งเจอผู้ป่วยตัวใหญ่ไม่สามารถรองรับ
                  แขนผู้ป่วยได้ และยังพบภาวะแทรกซ้อนจากการจัดท่าได้จึงมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงอุปกรณ์และพัฒนา
                  มาเป็นที่เก็บแขนจัดท่าสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดรุ่นที่ 2 ซึ่งออกแบบให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจากเดิม 2 เท่า คือมีความกว้าง
   677   678   679   680   681   682   683   684   685   686   687